แม้จะเป็นบุตรบุญธรรมก็ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมสามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
ศักดิ์และสิทธิ์ของบุตรบุญธรรมนั้นแทบจะเท่ากับบุตรทั่วๆ
ไป
มีความต่างกันตรงที่ไม่ใช่ผู้สืบสันดานของบิดามารดาผู้รับบุตรบุญธรรมหรือจะเรียกง่ายๆ
ก็คือคุณปู่คุณย่านั้นเอง ที่ไม่อาจรับมรดกแทนที่ได้หากผู้รับบุตรบุญธรรมได้เสียชีวิตไปก่อน
เมื่อบุตรบุญธรรมถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมของผู้รับบุตรบุญธรรมจึงมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
ดังนั้นย่อมมีสิทธิ์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมได้อีกด้วย
ตัวอย่าง นาย
ก ผู้รับบุตรบุญธรรมเสียชีวิตไปแล้ว นาง ข
ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก นาย ค
ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมเกรงว่าตนจะไม่ได้ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก
จึงได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมเข้าไปด้วย
เพื่อแบ่งทรัพย์มรดกให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม นาง ข ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจคัดค้านคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของนาย
ค ได้ ศาลต้องมีคำสั่งอนุญาต
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2558 โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. เนื่องจาก ป. จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โดย ส. ผู้ตาย ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ให้ความยินยอมด้วย โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อน ป. โดยมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัว ป. คู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรคสอง และมีสิทธิรับมรดกของ ส. ด้วยตามมาตรา 1635 แม้ ป. ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. แสดงเจตนาสละมรดกดังกล่าวตามมาตรา 1612 ป. จึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ตามกฎหมาย เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ในส่วนที่ตกแก่ ป. ได้
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ
ส. ซึ่งมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนซึ่งรวมถึง ป.
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสามแปลง
ให้แก่ตนเองเพียงผู้เดียวจึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว
และถือได้ว่าการมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นของ
ส. ทุกคนเท่านั้น จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1754
ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ในส่วนที่ตกได้แก่
ป. คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
มาตรา
1627
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น
ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments