จดทะเบียนสมรสเพราะชายว่าจ้างให้หญิงตั้งครรภ์โดยวิธีผสมเทียม (อุ้มบุญ) การสมรสเป็นโมฆะ

การสมรสที่มิได้มีเจตนาจะอยู่กินกันฉันสามีภรรยานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ กรณีที่จะกล่าวถึงนั้นเป็นการที่หญิงนั้นถูกจ้างให้มาท้องอุ้มบุญและจดทะเบียนสมรส เมื่อไม่ได้มีเจตนาที่จะอยู่กินกันการสมรสดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันหรือเรียกต่อกันได้เด็กที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นตามกฎหมาย

ในยุคปัจจุบันนั้นบุคคลที่มีบุตรยากได้ใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยนั้นคือการอุ้มบุญ แต่มีปัญหาข้อกฎหมายหลายประการอยู่ว่าสิทธิ์ในตัวบุตรเป็นของใคร ในเมื่อเด็กที่คลอดออกมานั้นไม่ได้เกิดจากรังไข่ของตนเองผู้คลอดบุตร แต่เป็นการผสมเทียมและฝากหญิงอื่นท้องแทน แต่ตามกฎหมายเด็กเกิดจากหญิงใด หญิงนั้นถือว่าเป็นแม่ที่ชอบโดยกฎหมาย แต่หากเกิดจากการอุ้มบุญเด็กจะเป็นสิทธิ์ของแม่คนไหนระหว่างแม่ที่ให้กำเนิดหรือแม่ที่เป็นเจ้าของรังไข่ โดยกฎหมายให้ถือว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะมีบุตร

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10442/2558 โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ม. จำเลยให้การว่า โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้จดทะเบียนสมรส และใช้วิทยาการทางการแพทย์โดยการผสมเชื้ออสุจิเพื่อตั้งครรภ์เด็กชาย ม. ให้โจทก์ โดยไม่เคยได้ใช้ชีวิตดังสามีภริยาเลย เมื่อเด็กชาย ม. คลอด โจทก์ไม่ส่งเงินมาให้ ไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่กลับขู่ให้ส่งมอบบุตรให้ ขอให้ยกฟ้อง ศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่โดยให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจดทะเบียนที่ปราศจากความยินยอมที่จะอยู่กินฉันสามีภริยากันอย่างแท้จริง เนื่องจากโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเพราะโจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ตั้งครรภ์บุตรให้แก่โจทก์ด้วยวิธีการผสมเทียม โดยต่างไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริงและไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา จึงเป็นการสมรสที่ผิดเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1458 ซึ่งมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าการสมรสเป็นโมฆะ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 วรรคสองแล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะได้ กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ แต่เมื่อบุตรผู้เยาว์คลอดระหว่างที่ศาลยังไม่ได้มีการพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1536 วรรคสอง

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 638,193