ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้ทำด้วยวาจาก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว

การเข้าเป็นหุ้นส่วนเพื่อทำธุรกิจนั้นไม่จำต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันก็บังคับกันได้เรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ความรับผิดในการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นหนี้เงินหรือตามสัญญาจ้างทำของหรือตามธุรกิจที่ได้ตกลงกันไว้ ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดเท่ากันทั้งหมดไม่แบ่งหรือไม่จำกัดความรับผิดต่อบุคคลใด

          ตัวอย่าง นายฉ่ำและนายเฉิ่มสองเพื่อนรักตกงานด้วยกันทั้งคู่ ได้ตกลงนำเงินคนละ 5,000 บาท มาลงหุ้นกันเพื่อที่จะเปิดร้านขายหมูปิ้งตอนเช้า จนขายดิบขายดี ต้องการที่จะไปเช่าร้านขายหมูปิ้งที่ใหญ่กว่าเดิมนายฉ่ำจึงได้ไปตกลงกู้ยืมเงินเพื่อมาลงทุนเพื่อ 80,000 บาท ปรากฏว่าเมื่อเปิดร้านใหม่ไปได้ซักพักกลับขาดทุน นายเฉิ่มผู้เป็นหุ้นส่วนได้แจ้งกับนายฉ่ำว่าตนไม่ต้องการที่จะร่วมทุนร้านอีกต่อไปแล้วขอถอนตัว และเจ้าหนี้ได้ฟ้องร้องขอให้นายฉ่ำชำระหนี้ ดังนั้นนายเฉิ่มผู้เป็นหุ้นส่วนกันต้องรับผิดร่วมกันด้วยแม้จะไม่มีสัญญาอะไรต่อกันก็ตามในฐานะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนต้องรับผิดร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14410/2558 จำเลยร่วมและจำเลยทั้งสองตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการจำหน่ายสินค้าที่ซื้อจากโจทก์ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรระหว่างกัน จึงเข้าลักษณะสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 แล้ว หาจำต้องทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยทั้งสองไม่ การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์เป็นการดำเนินการในฐานะหุ้นส่วน อันเป็นไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ดังนั้น จำเลยร่วมซึ่งเป็นหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1050

มาตรา 1050  การใด ๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้ อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 641,735