พินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยพิมพ์ดีดทั้งฉบับ เป็นพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับหรือเป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา
พินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยพิมพ์ดีดทั้งฉบับ
เป็นพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับหรือเป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 นั้น
มีหลักเกณฑ์สำคัญว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความทั้งหมดด้วยลายมือของตนเองเพราะเป็นการทำพินัยกรรมเองโดยลำพัง
ไม่มีผู้อื่นเกี่ยวข้อง จึงไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรม
กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด
ลงวัน เดือน ปีและลงลายมือชื่อของตนเองด้วย ทั้งนี้เพราะแม้ผู้ทำพินัยกรรมได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว
หากมีข้อโต้แย้งก็อาจพิสูจน์ลายมือเขียนหนังสือของผู้ทำพินัยกรรมได้ว่า
ใช่ลายมือของผู้ทำพินัยกรรมหรือไม่ใช่
ซึ่งต่างจากการใช้เครื่องพิมพ์ดีด
ถึงแม้ผู้ทำพินัยกรรมจะเป็นคนพิมพ์ข้อความทั้งหมดในพินัยกรรมเองก็ตาม
แต่เมื่อไม่มีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมหากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าผู้อื่นเป็นคนพิมพ์หรือพิมพ์ไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมแล้วก็เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้พิมพ์ข้อความเองทั้งหมดได้
ดังนั้น การทำพินัยกรรมแบบเขียนเอง
จึงใช้พิมพ์ดีดไม่ได้เลยไม่ว่าจะพิมพ์ดีดทั้งหมดโดยผู้ทำพินัยกรรมเองหรือพิมพ์ดีดเฉพาะบางตอนหรือเฉพาะข้อความที่กรอกลงในช่องว่างก็ตาม
คำพิพากษาฎีกาที่
2102/2551
พินัยกรรมที่ผู้ตายทำขึ้นโดยใช้พิมพ์ดีดทั้งฉบับ
ย่อมไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657
คงเป็นแต่พินัยกรรมแบบธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656
ที่ต้องมีพยานรู้เห็นซึ่งมาตรา 1656 วรรคหนึ่ง
บัญญัติว่าผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
การที่พยานในพินัยกรรมพิพาทลงลายมือชื่อเป็นพยานภายหลังจึงขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวพินัยกรรมพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา
1705
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 นั้น มีหลักเกณฑ์สำคัญว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความทั้งหมดด้วยลายมือของตนเองเพราะเป็นการทำพินัยกรรมเองโดยลำพัง
ไม่มีผู้อื่นเกี่ยวข้อง จึงไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรม
กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด ลงวัน
เดือน ปีและลงลายมือชื่อของตนเองด้วย ทั้งนี้เพราะแม้ผู้ทำพินัยกรรมได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว
หากมีข้อโต้แย้งก็อาจพิสูจน์ลายมือเขียนหนังสือของผู้ทำพินัยกรรมได้ว่า
ใช่ลายมือของผู้ทำพินัยกรรมหรือไม่ใช่ ซึ่งต่างจากการใช้เครื่องพิมพ์ดีดถึงแม้ผู้ทำพินัยกรรมจะเป็นคนพิมพ์ข้อความทั้งหมดในพินัยกรรมเองก็ตาม
แต่เมื่อไม่มีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมหากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าผู้อื่นเป็นคนพิมพ์หรือพิมพ์ไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมแล้วก็เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้พิมพ์ข้อความเองทั้งหมดได้
ฉะนั้น การทำพินัยกรรมแบบเขียนเอง จึงใช้พิมพ์ดีดไม่ได้เลยไม่ว่าจะพิมพ์ดีดทั้งหมดโดยผู้ทำพินัยกรรมเองหรือพิมพ์ดีดเฉพาะบางตอนหรือเฉพาะข้อความที่กรอกลงในช่องว่างก็ตาม
ดังนั้น เมื่อพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2
ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เขียนข้อความทั้งหมดด้วยลายมือเขียนของตนเอง
แต่กลับใช้วิธีพิมพ์ดีดแทนนั้น จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา
1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705
อีกทั้งจะฟังว่าพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2
เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาที่มีพยานรู้เห็นการทำพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา
1656 ก็ไม่ได้เพราะมาตรา 1656 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นก็ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นเช่นกัน
แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า ว. ลงชื่อทำพินัยกรรมเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2533 แต่
ป. โจทก์และ ส. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานระบุลงวันที่ 22
พฤษภาคม 2538 จึงเป็นการลงลายมือชื่อเป็นพยานในภายหลัง
ไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในขณะที่ ว. ทำพินัยกรรม เป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา
1656 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 อีกเช่นกัน ดังนั้น พินัยกรรมเอกสาร ล.2
จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยผิดแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
ไม่ว่าจะเป็นแบบเขียนเองหรือแบบธรรมดา ย่อมตกเป็นโมฆะทั้งฉบับตามมาตรา 1705
จําเลยจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ล. 2 ขึ้นต่อสู้ได้
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments