หยิบทรัพย์สินลูกหนี้ไปเพื่อบังคับชำระหนี้โดยลูกหนี้ไม่ยินยอม
กรณีที่มีการติดตามทวงถามหนี้เป็นตัวเงินด้วยตนเองนั้น
เจ้าหนี้ไม่อาจจะริบทรัพย์สินหรือยึดทรัพย์สินของลูกหนี้โดยที่ลูกหนี้ไม่ได้ให้ความยินยอมไม่ได้
มิเช่นนั้นเจ้าหนี้จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาได้เช่น
ตัวอย่าง
นายสงสัยได้ไปกู้ยืมเงินนายมดเพื่อนสนิทเป็นเงินเป็นจำนวน 300,000
บาท ได้ทำสัญญาต่อกันไว้มีกำหนดคืนเงิน 1 ปี ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดนายสงสัยยังไม่ได้คืนเงินให้แก่นายมด
ติดตามทวงถามไปก็หลายครั้งแต่นายสงสัยกลับนิ่งเฉย
จึงได้ไปติดตามทวงถามกับนายสงสัยที่บ้านและได้เจอสร้อยคอทองคำอยู่ 5 บาท
จึงมีปากเสียงกันว่าเจตนาที่จะไม่ชำระหนี้
จึงได้หยิบสร้อยเส้นดังมาแทนการชำระนี้เงินตามราคา
นายสงสัยจึงไม่แจ้งความกับตำรวจฐานลักทรัพย์ต่อนายมดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334
ดังนั้นแม้จะมีมูลหนี้ต่อกันเมื่อเจ้าของทรัพย์สินไม่ได้มีเจตนาที่จะสละกรรมสิทธิ์การครอบครองหรือไม่ได้มีเจตนาที่จะตีทรัพย์สินใช้หนี้แทนตัวเงินเจ้าหนี้ก็ไม่สามารถเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ไปได้
ผิดกฎหมายอาญาฐานลักทรัพย์
ต้องใช้สิทธิทางศาลในการติดตามให้ลูกหนี้ชะระหนี้ตามการกู้ยืมเงิน
มาตรา 334
ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น
หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2553 โจทก์ร่วมซื้อรถยนต์ตู้จากจำเลยในราคา
310,000
บาท จำเลยรับชำระราคาแล้ว 200,000 บาท
ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้
จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม
ป.พ.พ. มาตรา 453 และ 458 แม้จะได้ความว่าโจทก์ร่วมยังค้างชำระค่ารถยนต์ตู้อยู่ก็ตาม
หากโจทก์ร่วมเพิกเฉยไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าโจทก์ร่วมผิดสัญญา
จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อขอให้โจทก์ร่วมชำระหนี้ให้ครบถ้วน
จำเลยหามีสิทธิที่จะติดตามเอารถยนต์ตู้คันที่ขายไปนั้นคืนมาโดยพลการได้ไม่
การที่จำเลยบอกกับ ท.
ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์ตู้ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วมว่าจะมาเอารถยนต์ตู้ไป ท.
มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้และมิใช่ผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมให้จำเลยกระทำการเช่นนั้น
จึงเป็นการบอกกล่าวให้รับทราบเท่านั้น และ ท.
มิได้มอบกุญแจรถยนต์ตู้เพื่อให้จำเลยนำรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถแต่ประการใด ดังนั้น
การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ
จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ
แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างก็ตาม
แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
และโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์เพียงประมาณ 20,000 บาท
แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท
ดังนั้น การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า
เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต
จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments