ของหล่นจากระเบียงได้รับบาดเจ็บ “เจ้าของห้องต้องชดใช้ค่าเสียหาย”
ของหล่นจากระเบียงได้รับบาดเจ็บ “เจ้าของห้องต้องชดใช้ค่าเสียหาย”
กรณีของตกหล่นลงมาทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นจนได้รับบาดเจ็บก็มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ
แต่บางท่านไม่ทราบว่าสามารถเรียกให้ผู้เป็นเจ้าของห้องพักดังกล่าวที่ของหล่นลงมาหรือเรียกให้ผู้ที่ครอบครองบริเวณห้องพักนั้น
อยู่รับผิดชอบได้ หากเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น
ตัวอย่าง นางจิตดี ได้ทำธุรกิจหอพักใกล้สถานศึกษา
เป็นผู้ที่รักและชื่นชอบแมวโดยเลี้ยงไว้ทั้งหมด 2 ตัว วันเกิดเหตุ นายสุดซอย
ได้เดินเดินออกจากบริเวณหอพักตามปกติของทุกวัน แมวตัวหนึ่งของนางจิตดี
ได้เดินชนกระถางต้นไม้ซึ่งวางไว้บนระเบียงไม่มีการยึดหรือรั้งเอาไว้ จึงตกลงมาถูกศีรษะของนายสุดซอยได้รับบาดเจ็บ
เย็บเป็นแผลยาวกว่า 10 เข็มให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส แม้นางจิตดี
จะไม่ใช่ผู้กระทำให้กระถางต้นไม้หล่นลงมา แต่ถือว่าเป็นเจ้าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตนเองเป็นเจ้าของอยู่ในขณะนั้น
ด้วยความประมาทไม่ยึดติดตั้งกระถางต้นไม้ให้ดี
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับนายสุดซอย ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 436
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5782/2541
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจำเลยที่ 1ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย
ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม
แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน
ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7
ภายในอาคารดังกล่าว
และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่า
บริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่
จำเลยที่ 1 ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน
ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิวไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายเป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่
1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน
ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น
โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย
จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม
ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้
สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า
ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ
ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น
หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้
แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร
ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม
มาตรา 436 “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร”
กรณีของตกหล่นลงมาทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นจนได้รับบาดเจ็บก็มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ
แต่บางท่านไม่ทราบว่าสามารถเรียกให้ผู้เป็นเจ้าของห้องพักดังกล่าวที่ของหล่นลงมาหรือเรียกให้ผู้ที่ครอบครองบริเวณห้องพักนั้น
อยู่รับผิดชอบได้ หากเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น
ตัวอย่าง นางจิตดี ได้ทำธุรกิจหอพักใกล้สถานศึกษา
เป็นผู้ที่รักและชื่นชอบแมวโดยเลี้ยงไว้ทั้งหมด 2 ตัว วันเกิดเหตุ นายสุดซอย
ได้เดินเดินออกจากบริเวณหอพักตามปกติของทุกวัน แมวตัวหนึ่งของนางจิตดี
ได้เดินชนกระถางต้นไม้ซึ่งวางไว้บนระเบียงไม่มีการยึดหรือรั้งเอาไว้ จึงตกลงมาถูกศีรษะของนายสุดซอยได้รับบาดเจ็บ
เย็บเป็นแผลยาวกว่า 10 เข็มให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส แม้นางจิตดี
จะไม่ใช่ผู้กระทำให้กระถางต้นไม้หล่นลงมา แต่ถือว่าเป็นเจ้าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตนเองเป็นเจ้าของอยู่ในขณะนั้น
ด้วยความประมาทไม่ยึดติดตั้งกระถางต้นไม้ให้ดี
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับนายสุดซอย ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 436
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5782/2541
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจำเลยที่ 1ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย
ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม
แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน
ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7
ภายในอาคารดังกล่าว
และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่า
บริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่
จำเลยที่ 1 ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน
ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิวไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายเป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่
1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน
ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น
โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย
จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม
ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้
สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า
ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ
ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น
หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้
แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร
ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม
มาตรา 436 “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร”
กรณีของตกหล่นลงมาทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นจนได้รับบาดเจ็บก็มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ
แต่บางท่านไม่ทราบว่าสามารถเรียกให้ผู้เป็นเจ้าของห้องพักดังกล่าวที่ของหล่นลงมาหรือเรียกให้ผู้ที่ครอบครองบริเวณห้องพักนั้น
อยู่รับผิดชอบได้ หากเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น
ตัวอย่าง นางจิตดี ได้ทำธุรกิจหอพักใกล้สถานศึกษา
เป็นผู้ที่รักและชื่นชอบแมวโดยเลี้ยงไว้ทั้งหมด 2 ตัว วันเกิดเหตุ นายสุดซอย
ได้เดินเดินออกจากบริเวณหอพักตามปกติของทุกวัน แมวตัวหนึ่งของนางจิตดี
ได้เดินชนกระถางต้นไม้ซึ่งวางไว้บนระเบียงไม่มีการยึดหรือรั้งเอาไว้ จึงตกลงมาถูกศีรษะของนายสุดซอยได้รับบาดเจ็บ
เย็บเป็นแผลยาวกว่า 10 เข็มให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส แม้นางจิตดี
จะไม่ใช่ผู้กระทำให้กระถางต้นไม้หล่นลงมา แต่ถือว่าเป็นเจ้าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตนเองเป็นเจ้าของอยู่ในขณะนั้น
ด้วยความประมาทไม่ยึดติดตั้งกระถางต้นไม้ให้ดี
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับนายสุดซอย ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 436
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5782/2541
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจำเลยที่ 1ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย
ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม
แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน
ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7
ภายในอาคารดังกล่าว
และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่า
บริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่
จำเลยที่ 1 ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน
ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิวไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายเป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่
1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน
ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น
โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย
จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม
ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้
สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า
ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ
ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น
หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้
แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร
ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม
มาตรา 436 “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร”
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments