ลูกจ้างกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ นายจ้างต้องร่วมชดใช้ค่าเสียหายด้วย
ลูกจ้างกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ นายจ้างต้องร่วมชดใช้ค่าเสียหายด้วย
ตัวอย่าง นายนัท
เป็นลูกจ้างขับรถส่งน้ำแข็ง ให้กับ บริษัท เย็นสุดขั้วจำกัด วันหนึ่งนายนัทซึ่งเป็นลูกจ้างได้มาทำงานในลักษณะที่เมาสุราได้ขับรถบรรทุกส่งน้ำแข็งไปตามร้านอาหารต่างๆ
ขณะจะกลับจากการส่งน้ำแข็งได้ขับรถด้วยความเร็วเฉี่ยวชนกับผู้อื่น เป็นเหตุให้ลุงสมหมายล้มหัวกระแทกพื้นถึงแก่ความตาย
ถือว่านายนัทกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จากข้อเท็จจริงที่ยกตัวอย่างมานั้น ถือว่านายนัทเป็นลูกจ้างของบริษัท
เย็นสุดขั้ว จำกัด ได้กระทำงานไปตามการที่จ้าง
จนเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับบุคคลอื่น
เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และบริษัท เย็นสุดขั้ว จำกัด
ในฐานะนายจ้างต้องร่วมกับนายนัท
ลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวลงสมหมายด้วย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2558
ความหมายของคำว่า "ในทางการที่จ้าง"
มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในเวลาทำงานของนายจ้างหรือระหว่างเวลาที่ต่อเนื่องคาบเกี่ยวใกล้ชิดกันกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างดังที่จำเลยที่
3
กล่าวอ้างมาเท่านั้น
หากแต่เมื่อลูกจ้างที่มีหน้าที่ขับรถและได้กระทำไปในทางการที่จ้างแล้ว
หลังจากนั้นแม้ลูกจ้างจะได้ขับรถไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือประการใดก็ตาม
ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้นำรถกลับคืนสู่ความครอบครองของนายจ้าง
ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระหว่างทางการที่จ้างหรือต่อเนื่องกับทางการที่จ้างซึ่งนายจ้างยังคงต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้าง
ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุคดีนี้จะเป็นเวลา 2 นาฬิกา
นอกเวลาทำงานปกติและ ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุออกไปเที่ยว ก็ถือได้ว่า ว.
ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่
3 เป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดของ
ว. นั้นด้วย
และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17440/2555
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่
3 ขับรถบรรทุกเฉี่ยวชนรถโดยสารของโจทก์ได้รับความเสียหายแม้ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา
20 นาฬิกา แต่จำเลยที่ 1 ยังคงสวมใส่ชุดทำงาน
ในวันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 3
ไปพบพนักงานสอบสวนกับจำเลยที่ 1 โดยมิได้ปฏิเสธความรับผิดว่าจำเลยที่
1 มิได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 แต่กลับยอมรับต่อตัวแทนฝ่ายโจทก์และพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และยังร่วมเจรจาต่อรองค่าเสียหายโดยไม่ได้แจ้งหรือแสดงพฤติการณ์ใดให้เห็นว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่
1 แสดงว่าจำเลยที่ 2 รับโดยปริยายแล้วว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่
1 เป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการที่ยินยอมเสนอเงินชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นเพียงลูกจ้างรายวันและขณะเกิดเหตุจะล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติของจำเลยที่
1 แล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเมื่องานที่ทำเป็นกิจการของนายจ้าง
จึงเป็นการปฏิบัติงานในทางการที่จ้างที่จำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้าง
และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 3
ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดความรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ห้างก่อให้เกิดขึ้นด้วย
มาตรา 425 “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments