สัญญากู้ยืมเงิน แม้ไม่มีชื่อผู้ให้กู้ยืมก็ฟ้องได้!!
เวลาที่ท่านทำสัญญากู้ยืมเงิน
ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้กู้ หรือเป็นผู้ให้กู้ แน่นอนว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
ซึ่งกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดรูปแบบของสัญญาให้ท่านต้องเขียนตามไว้
แต่ก็จำเป็นต้องมีรายละเอียดคราวๆ ให้พอบังคับกันได้ตามกฎหมาย เช่น กู้ยืมเมื่อใด
ใครเป็นผู้กู้ ใครเป็นผู้ให้กู้ กู้เงินจำนวนเท่าไร
ดอกเบี้ยเท่าไรต่อเดือนหรือต่อปี มีกำหนดใช้เงินคืนกันตอนไหน
และที่สำคัญต้องมีลายมือชื่อผู้กู้ ไว้ในหลักฐานแห่งการกู้นั้นด้วย(ย้ำว่าต้องมีลายมือชื่อผู้กู้
ห้ามลืมเด็ดขาด!!)
คำถาม : สัญญากู้ยืมเงิน มีเพียงลายมือชื่อผู้กู้
แต่ไม่มีลายมือชื่อผู้ให้กู้จะฟ้องร้องกันได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ครับ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น
ถ้าไม่ได้มีหลักฐานาแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” กฎหมายกำหนดเพียงว่า
จำเป็นต้องมีลายมือชื่อผู้กู้เท่านั้น
ก็สามารถที่จะนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีต่อศาลได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4537/2553
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
วรรคแรก(เดิม) บัญญัติว่า การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาท(ปัจจุบันแก้ไขเป็นสองพันบาท)
ขึ้นไปนั้น
ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก อยู่ที่ว่า
มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว
ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ ดังนั้น
เมื่อโจทก์นำหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันมาฟ้องจำเลยทั้งสาม และปรากฏชัดว่าเอกสารพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ แม้จะไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ให้ถูกต้อง
แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน
จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินและค้ำประกันของโจทก์ได้แล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่
11865/2555
รายการในสมุดของโจทก์ที่ระบุไว้ตอนบนเป็นชื่อเล่นของภริยาจำเลยและมีข้อความว่าวันที่กู้เงินกับรายการที่ระบุวันที่และจำนวนเงินโดยจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินกำกับไว้ในเครื่องหมายปีกกา
รวม 6
รายการ เป็นเงิน 49,000 บาท นั้น จำเลยเป็นผู้รับเงินดังกล่าวไปจากโจทก์
การที่โจทก์ระบุชื่อเล่นของภริยาจำเลยไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยลงลายมือชื่อรับดอกเบี้ย 15,000 บาท
จากโจทก์ไว้แทนภริยาจำเลยนั้น
จำเลยและภริยาจำเลยอธิบายไม่ได้ว่าดอกเบี้ยดังกล่าวคิดมาจากต้นเงินจำนวนใด
และเหตุใดจำเลยจึงลงลายมือชื่อรับเงินไว้หลายรายการ
เป็นจำนวนเงินมากกว่าที่อ้างว่ารับจากโจทก์ไว้เป็นดอกเบี้ยซึ่งขัดต่อเหตุผล
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินจำนวนดังกล่าวไปจากโจทก์แล้ว
โดยจำเลยและภริยาจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นอัตราร้อยละของเงินที่รับไปจากโจทก์ซึ่งก็คือดอกเบี้ย
แล้วจำเลยและภริยาจำเลยนำเงินที่กู้จากโจทก์ไปปล่อยกู้ต่อโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่ต้องจ่ายให้โจทก์
โจทก์จึงเป็นผู้ให้กู้ยืมเงิน
และรายการตามเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมซึ่งทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมเป็นสำคัญ
จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
โดยหาจำต้องระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ให้กู้ยืมไว้ไม่
มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments