เป็นผู้เสียหายต้องฟ้องดำเนินคดีอาญาภายในอายุความ!!
เมื่อท่านเป็น “ผู้เสียหาย”
ในคดีอาญาแล้วอย่าได้ชักช้าหรือคิดว่าจะดำเนินคดีเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะการปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยนานไปอาจมีผลเสียในด้านกระบวนวิธีพิจารณาคดี
การพิสูจน์พยานหลักฐาน และการลงโทษผู้กระทำความผิดได้ หรือที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ
คดีของท่านอาจจะขาดอายุความในที่สุด(แพ้ตั้งแต่ยังไม่ฟ้อง) ดังนั้น
จึงควรรวบรวมพยานหลักฐาน เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
หรือท่านจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินคดีให้ท่านเพื่อความสะดวกรวดเร็ว
ก็สุดแท้แต่ความสามารถของแต่ละท่าน
อายุความ
ตามกฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือ
ระยะเวลาสำหรับการฟ้องคดีและอายุความสำหรับการนำตัวผู้กระทำความผิดอาญามาลงโทษ
โดยขึ้นอยู่กับอัตราโทษของแต่ละฐานความผิด
.
มาตรา
95
ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้
นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี
สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี เช่น
ฆ่าคนตายโดยเจตนา
(2) สิบห้าปี
สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี เช่น ปล้นทรัพย์
(3) สิบปี
สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี เช่น ลักทรัพย์
(4) ห้าปี
สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี เช่น บุกรุก
(5) หนึ่งปี
สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น เช่น
ทะเลาะวิวาท
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว
ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต
และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา
ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
การนับอายุความเพื่อฟ้องคดีอาญาตาม
มาตรา 95
1. ถ้าไม่ได้ฟ้องและไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดระยะเวลาตาม
(1) – (5) คดีเป็นอันขาดอายุความ “วันเริ่มนับอายุความ” นับตั้งแต่วันที่มีความผิดเกิดขึ้น
2.
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิด “หลบหนี”
ศาลจะสั่งงดการพิจารณาไว้
แต่ถ้าผู้กระทำความผิดหลบหนีจนเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว
นับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
มาตรา
96
ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3
เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ เช่น
คดียักยอก คดีฉ้อโกง
การนับอายุความกรณีนี้นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัว
กล่าวคือ
1. รู้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและ
2.
รู้ตัวผู้กระทำความผิด
ครบสองประการอายุความจึงเริ่มนับอายุความ
เมื่ออายุความเริ่มนับแล้วถ้าหากท่านไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน(ตำรวจ) ภายใน
3 เดือน คดีของท่านก็เป็นอันขาดอายุวาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8141 - 8145/2561
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง
หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371
และฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ตามมาตรา 376 มีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.อ.
มาตรา 95 (5) เมื่อเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2557 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่
12 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงขาดอายุความ
ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ
225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3870/2562
โจทก์ทราบว่า
จำเลยทั้งห้าร้องเรียนโจทก์ว่าทุจริตต่อหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557
ประกอบกับได้ความจากคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงว่า
เคยเรียกโจทก์และจำเลยทั้งห้ามาพูดคุยไกล่เกลี่ยในปี 2557
เนื่องจากเห็นว่าโจทก์และจำเลยทั้งห้าเป็นเพื่อนร่วมงานกัน
จึงเชื่อว่าโจทก์ทราบมูลความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าเป็นจำเลยทั้งห้าตั้งแต่วันที่มีการร้องเรียนในวันที่
25 กุมภาพันธ์ 2557 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าตาม ป.อ. มาตรา
326 และ 328 เป็นความผิดอันยอมความได้
แต่โจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โดยโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2559
ซึ่งเป็นเวลาหลังจากมีการร้องเรียนแล้วกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.อ.
มาตรา 96
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments