ถูกทำร้ายแต่ตำรวจไม่รับแจ้ง เป็นความผิดฐาน ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ความผิดที่เกิดเป็นคดีบ่อยครั้งเกี่ยวกับการกระทำตามตำแหน่งของข้าราชการคือการที่เจ้าพนักงานตำรวจตั้งใจละเว้นปฏิบัติหน้าของตนเอง
ไม่ว่าจะโดยความรู้สึกส่วนตัวที่นำเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องงาน
ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ เจตนาของการบัญญัติบทกฎหมายอาญามาตรา 157 นั้นก็เพื่อควบคุมเจ้าพนักงานไม่ให้กระทำการโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว
ตัวอย่าง นายดำถูกคนทำร้ายร่างกายศีรษะแตก
จึงได้ไปแจ้งความ ณ สถานีตำรวจกับร้อยเวรคือนายแสบ
แต่นายแสบกับนายดำเคยรู้จักกันมาก่อน
และได้มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันที่ร้านคาราโอเกะ ว่านายดำมีนิสัยคุยโวโอ้อวด
จึงมีปากเสียงกัน ทำให้ไม่ชอบขี้กันไป เมื่อนายแสบเห็นนายดำมาแจ้งความกับตนเอง
ว่าถูกทำร้ายร่างกายจึงเกิดความรู้สึกสะใจและไม่ทำการแจ้งความ กลับพูดว่าวันนี้ไม่ว่างรับแจ้งความให้มาวันอื่น
การกระทำดังกล่าวของนายแสบทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับนายดำไม่ได้รับความเป็นธรรม
โดยเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งตนเองปฏิบัติติงานอยู่ในขณะนั้น
อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2562 การกระทำที่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา. มาตรา 157 นอกจากเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่โดยตรงในการปฏิบัติหน้าที่นั้นแล้ว ต้องมีเจตนาในการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้เป็นรองนายกเทศมนตรีเทศบาลจำเลยที่ 1 ร่วมกันอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้ตรวจสอบ เพราะเชื่อคำรับรองของ ป. ผู้ใหญ่บ้านว่าถนนดังกล่าวเป็นทางสาธารณะแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 รู้อยู่แล้วว่าถนนที่จะก่อสร้างปรับปรุงนั้นรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบว่าแนวถนนที่จะก่อสร้างปรับปรุงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ใดหรือไม่ อันเป็นการกระทำโดยมิชอบตามกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิด ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดต่อโจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 มีเจตนาพิเศษ ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 157 ดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 8 และที่ 9 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ย่อมไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้เป็นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2561
การพิจารณาว่าคำฟ้องของโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่
ต้องพิจารณาจากคำฟ้องโจทก์เท่านั้น
ส่วนเอกสารท้ายฟ้องแม้เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็เป็นเพียงส่วนแสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเท่านั้น
ไม่อาจนำเอกสารท้ายฟ้องและคำเบิกความของโจทก์มาพิจารณาประกอบกับคำฟ้องด้วย
การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 นั้น
ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยเจ้าพนักงานผู้กระทำมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าการใช้ดุลพินิจของจำเลยทั้งยี่สิบสี่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบสี่ย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องด้วยว่า
จำเลยทั้งยี่สิบสี่กระทำการตามคำฟ้องโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือไม่
อย่างไร คำฟ้องโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
157 และ
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11
ดังนั้นการกระทำของนายแสบจึงเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองโดยมิชอบ
ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments