แต่งงานกันแต่ไม่มีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกัน จะเรียกของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้
การที่ชายและหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงไม่ใช่ของหมั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และไม่ใช่สินสอดตามมาตรา 1437 วรรคสาม ตามกฎหมายเช่นกัน แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะหญิงยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ตามฝ่ายชายก็หามีสิทธิ์เรียกคืนไม่ มาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกากัน
คำพิพากษาฎีกาที่ 1117/2535 โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเงินทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์มอบให้ฝ่ายหญิง
จึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย
แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์
โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 172/2538
โจทก์หมั้นบุตรสาวจำเลยโดยมอบสินสอดให้จำเลยในวันทำพิธีแต่งงานแต่มิได้จดทะเบียนสมรสกันเพราะโจทก์ไม่ใส่ใจในการไปจดทะเบียนสมรสกับบุตรของจำเลยโจทก์จึงจะอ้างขอสินสอดคืนว่าเมื่อไม่มีการสมรสโจทก์ย่อมเรียกสินสอดคืนได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกสินสอดคืน
คำพิพากษาฎีกาที่ 3557/2524
การที่โจทก์ให้เงิน 20,000 บาท
ซึ่งเรียกว่าสินสอดและให้แหวนเพชรกับสร้อยทองคำซึ่งเรียกว่าของหมั้นแก่จำเลยนั้นโจทก์หาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นไม่เพราะสินสอดหรือของหมั้นนั้นต้องเป็นการให้โดยมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าทั้งสองฝ่ายเพียงแต่ประกอบพิธีสมรสตามประเพณี
โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เงินและทรัพย์นั้น
จึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1437 ไม่
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments