นำเช็คค้ำประกันไปฟ้องเป็นคดีอาญา เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
การจะเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้นั้น
สาระสำคัญประการหนึ่งคือเช็คพิพาทนั้น
ต้องเป็นเช็คที่ออกไว้เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย
ส่วนการออกเช็คค้ำประกันนั้น
เช็คดังกล่าวไม่ได้มีไว้เพื่อชำระหนี้ย่อมไม่เข้าองค์ประกอบความผิดในทางอาญา
แต่อย่างไรก็ดี
ผู้ทรงเช็คก็ยังมีสิทธินำเช็คค้ำประกันดังกล่าวไปเรียกเก็บกับธนาคารได้อยู่
ส่วนหากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว
ผู้ทรงเช็คก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นคดีแพ่งได้อยู่
แต่หากผู้ทรงเช็ครู้อยู่แก่ใจว่าเช็คที่ตนถืออยู่นั้น
เป็นเช็คที่ออกให้ไว้เพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้
แต่ดันหัวหมอ รู้มาก ทะลึ่งนำไปขึ้นเงินเพื่อให้เช็คมันเด้งและนำไปฟ้องคดีอาญาเพื่อบีบลูกหนี้ว่าหากไม่จ่าย
จะต้องติดคุก เช่นนี้ผู้ที่นำเช็คค้ำประกันไปฟ้องคดีอาญา
ย่อมมีความผิดฐานฟ้องเท็จด้วย เตือนไว้เลย ระวังจะตกเป็นจำเลยเสียเองนะ
มาดูตัวอย่างกันครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3963/2543
การที่โจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 500,000 บาทให้แก่จำเลยนั้น
เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ไปจากจำเลยจำนวน120,000 บาทเมื่อจำเลยนำเช็คพิพาทฉบับดังกล่าวไปฟ้องกล่าวหาว่าโจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 จึงเป็นการฟ้องคดีอาญาต่อศาลว่าโจทก์กระทำความผิดการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2538
ขณะที่มอบเช็คให้จำเลยยังไม่มีวันที่สั่งจ่ายและรอยตราประทับของโจทก์ที่ 1 การที่จำเลยนำเช็คฉบับดังกล่าวไปฟ้องกล่าวหาว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตาม
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 และเบิกความตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นการกระทำที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าการออกเช็คดังกล่าวของโจทกก์ทั้งสองไม่มีมูลความผิดทางอาญาตาม
พ.ร.บ.ดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ
อย่างไรก็ดี มีบางกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่น่าจะมีเจตนาฟ้องเท็จด้วย ซึ่งก็ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป
ตัวอย่างเช่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1911/2560
โจทก์กู้เงินจำเลยจำนวน 500,000 บาท
และได้ออกเช็ค 2 ฉบับ ให้แก่จำเลย
แม้จำเลยนำเช็คสองฉบับดังกล่าวรวมจำนวนเงินตามเช็ค 500,000
บาท ไปยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีอาญา
และต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยเป็นประกันการชำระหนี้
ก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อกฎหมาย
โดยรับฟังข้อเท็จจริงจากหนังสือสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยนำมาสู่ศาลในคดีดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา
ประกอบกับจำเลยเป็นชาวต่างชาติซึ่งไม่ปรากฎว่าเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายไทย
เมื่อจำเลยนำหลักฐานสัญญากู้ยืมเงินกับเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว และเช็คฉบับอื่นๆ
อีกหลายฉบับที่โจทก์ออกให้กับจำเลยไปปรึกษากับ ส.
ประกอบวิชาชีพทนายความก็ได้รับคำแนะนำจาก ส.
ว่าจำเลยสามารถใช้สิทธิทางศาลด้วยการยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาเกี่ยวกับการที่โจทก์ออกเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวได้
จำเลยจึงได้มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา
ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าว
มีเหตุให้เชื่อได้ว่ำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดอาญาดังที่ทนายความแนะนำ
เมื่อจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฟ้องเท็จ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175
ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments