กรณีถูกศาลลงโทษปรับไม่เกิน 8 หมื่น จำเลยอาจขอบำเพ็ญประโยชน์แทนค่าปรับได้
ในกรณีที่จำเลยถูกศาลพิพากษาให้ชำระค่าปรับนั้น
มีหลายเหตุผลที่จำเลยไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ไม่ว่าจะด้วยสถานะทางการเงิน
หรือภาระค่าใช้จ่ายที่ต่างๆกัน กลับต้องกู้ยืมเงินนอกระบบมาชำระ
และต้องถูกกักขังแทนค่าปรับไปอย่างน่าเสียดาย
สำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 30/1
ให้สิทธิผู้ต้องหาที่ถูกศาลพิพากษาปรับยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับได้
โดยหากศาลเห็นสมควรแล้ว
ศาลก็จะมีคำสั่งให้ผู้นั้นทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยการนับชั่วโมงการทำงานแทนค่าปรับนั้น
ประธานศาลฎีกาได้ออกระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการกำหนดจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน
และแนวปฏิบัติในการให้ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับและการเปลี่ยนสถานที่กักขัง
พ.ศ. 2546 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560)ไว้ด้วย กล่าวคือ
ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาปรับไม่เกิน 8
หมื่นบาท หากผู้ต้องโทษปรับมิได้ร้องขอทํางานบริการสังคม
หรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับในขณะพิพากษาคดี
ศาลพึงสอบถามว่าผู้ต้องโทษปรับมีเงิน ชําระค่าปรับหรือไม่
และแจ้งให้ทราบถึงสิทธิที่จะขอทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์
แทนค่าปรับ และให้ศาลจัดให้มีการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการจัดทำและยื่นคำร้องดังกล่าวด้วย
ซึ่งศาลก็จะพิจารณาตามสภาพแวดล้อมและพฤติการณ์อื่นประกอบกันไป
ซึ่งเมื่อผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวแล้ว
ศาลอาจสั่งให้เข้าฝึกอบรมทางศีลธรรมวินัย
หรือโครงการอื่นหรือสั่งห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อเป็นการแก้ไข ฟื้นฟู
และป้องกันไม่ให้มีการกระทำความผิดซ้ำอีกก็ได้
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ : http://www.opsc.coj.go.th/doc/data/opsc/opsc_1496719543.pdf
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments