รอการลงโทษ รอการกำหนดโทษ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
ในคดีอาญานั้น
เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดแล้ว
เมื่อศาลพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ต่างๆของจำเลย ศาลอาจไม่ลงโทษจำคุกจำเลยก็ได้
โดยอาจมีคำสั่งรอการลงโทษไว้ หรือที่เรียกันติดปากว่า รอลงอาญา
หรือจะมีคำสั่งรอกำหนดโทษก็ได้ เช่นกัน
ซึ่งการรอการลงโทษนั้น หมายถึงกรณีที่ศาลกำหนดโทษที่จะลงโทษกับจำเลยไว้
(เช่น จำคุก 1 ปี ให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี) หรือที่เรามักจะเรียกกันติดปากกันว่า
“รอลงอาญา”
แล้วปล่อยตัวจำเลยไปเพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด โดยหาก
ภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษนั้น จำเลยกลับกระทำความผิดซ้ำอีก และถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษ
ศาลก็จะนำโทษที่ได้กำหนดไว้ มารวมกับโทษที่เคยมีคำสั่งรอการลงโทษไว้ได้
ส่วนการรอการกำหนดโทษนั้น เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด
แล้วให้รอกำหนดโทษไว้ จากนั้นปล่อยตัวจำเลยไป
หากภายหลังจำเลยกระทำความผิดซ้ำและถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษอีก
ศาลก็ต้องกำหนดโทษในคดีแรกที่ได้รอการกำหนดโทษไว้
แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยรวมกับคดีหลังได้
กล่าวโดยสรุปคือ การรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษนั้น
แม้จะไม่ใช่เรื่องเดียวกันแต่ก็เป็นเรื่องที่ใกล้เคียงกัน สามารถทดแทนกันได้
ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าผู้ที่ศาลพิพากษาให้รอการกำหนดโทษนั้นจะมีความผิดน้อยกว่าผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้รอการลงโทษแต่อย่างใด
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 56 วรรคแรก ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ
และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ
ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น
(1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ
(2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ
(3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี
แล้วมากระทำความผิดอีก
โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
และเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา
การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น
หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น
หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้
ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง
เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา
โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments