การแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น
ผู้ใดแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
1. ผู้แจ้งข้อความอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของนิติบุคคลกระทำโดยผ่านผู้แทนนิติบุคคล
เช่น กรรมการผู้มีอำนาจจัดการแทนของนิติบุคคล
2. การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จอาจทำโดย บอกกับเจ้าพนักงาน
ตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่นให้การเท็จในฐานะเป็นพยาน การแจ้งโดยวิธีแสดงหลักฐาน เช่น
คนต่างด้าวไม่มีสิทธิที่จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้โดชอบด้วยกฎหมาย
การที่คนต่างด้าวอ้างและนำหลักฐานแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
จึงเป็นการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานเพราะหลงเชื่อคนต่างด้าวคนนั้นมีสัญชาติไทยก็ตาม
ก็หาใช่เป็นข้ออ้างที่จะนำมาใช้เพื่อขอให้มีการทำบัตรใหม่แทนบัตรเดิมที่หมดอายุ
3. ข้อความที่แจ้งต้องเป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือในปัจจุบัน
หากเป็นเรื่องอนาคตไม่เป็นความเท็จ
4. การแจ้งข้อเท็จจริงนั้นต้องมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง
มิใช่การแสดงความคิดเห็น หรือการคาดคะเนถึงเหตุการณ์ในอนาคต
5.
การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 นั้น
จะต้องเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องที่แจ้งความนั้น
หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาหากเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการที่แจ้งก็ไม่เป็นความผิด
ฎ.2413/2521
6. ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. 137
นั้นจะต้องปรากฏว่าการแจ้งความเท็จนั้น อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลว่าต้องเกิดผลเสียหายขึ้นก่อน จึงจะเป็นความผิด ฎ.1329/2529
7. การแจ้งความเท็จนั้นผู้แจ้งต้องกระทำโดยเจตนากล่าวคือ
ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ
ไม่เป็นความจริงตามที่แจ้งเพราะหากแจ้งตามที่เข้าใจเช่นนี้ถือว่าผู้แจ้งไม่มีเจตนา
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
รอบแรกก็ถามแล้ว
รอบสองก็ถามแล้วว่ามันจะได้ไมแบบนี้
เค้าให้ผมจ่าย