โจรขโมยรถยนต์ไปขณะจอดติดเครื่องยนต์ไว้ ประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ !!

โจรขโมยรถยนต์ไปขณะจอดติดเครื่องยนต์ไว้ ประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ !!

เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุขโมยรถยนต์ที่จังหวัดชุมพร โดยเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวได้ลงจากรถของตนไปกดเงินที่ตู้ ATM แต่ติดเครื่องยนต์เอาไว้ หลังจากนั้นเมื่อคนร้ายเดินผ่านพร้อมกับได้มองเข้าไปภายในรถยนต์ และได้เดินดูรอบรถยนต์อีกประมาณ 1 รอบ

เมื่อคนร้ายแน่ใจว่าไม่มีคนอยู่ในรถยนต์จึงได้เปิดประตู และขับรถยนต์ออกไปทันที โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัวเลยว่ารถยนต์ของตนถูกขโมย แม้ภายหลังขโมยคนดังกล่าวจะถูกจับกุมพร้อมกับรับสารภาพ …

แต่หารู้ไม่ว่าเรื่องนี้ เป็นอุทาหรณ์สอนใจให้กับเจ้าของรถยนต์รายนี้เป็นอย่างมาก เพราะการที่เจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวจอดรถโดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้วลงจากรถไปกดเงินที่ตู้ ATM นั้น เป็นการขาดความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว   ดังนั้น ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้สามารถเทียบเคียงได้จากคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้



 

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2559

พฤติกรรมของโจทก์ที่จอดรถโดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้วลงจากรถไปซื้อของห่างจากจุดซื้อของประมาณ 2 เมตร และต้องใช้เวลารอประมาณ 10 นาที แม้จะห่างจากรถไม่มาก แต่ไม่ได้ยืนอยู่ใกล้รถพอที่จะป้องกันรถได้ ในระหว่างที่รอนี้มีผู้ร้ายได้ลักรถยนต์ไป หากโจทก์ดับเครื่องยนต์และล็อกประตูรถยนต์ให้เรียบร้อยแล้วเชื่อว่าคนร้ายไม่สามารถลักรถยนต์ของโจทก์ไปได้โดยง่าย เป็นการขาดความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์ หากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตามสมควรโดยดับเครื่องยนต์และล็อคประตูรถยนต์ให้เรียบร้อยแล้วเชื่อว่าคนร้ายไม่สามารถลักรถยนต์ของโจทก์ไปได้โดยง่าย เหตุที่คนร้ายลักรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคหนึ่ง

          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นเกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์”

นั่นหมายความว่า ความเสียหายทุกประการที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยอันเกิดด้วยเหตุประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทั้งสิ้น

ในตัวอย่างคำพิพากษานี้อาจจะเป็นเรื่องของการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจอดรถติดเครื่องไว้แล้วรถสูญหาย ทำให้บริษัทประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้เอาประกันภัยโดยตรง

คำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” หมายถึง การกระทำโดยไม่ได้เจตนาแต่เป็นการกระทำซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้และหากใช้ ความระมัดระวังแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้แต่กลับเพิกเฉยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 638,187