จุดพลุฉลองปีใหม่แล้วไฟไหม้ เจ้าภาพหรือเจ้าของงานต้องร่วมรับผิดกับคนจุดด้วย
การจัดงานเลี้ยงฉลองในโอกาสต่าง
ๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ในสังคม แต่อย่างไรก็ดี หากในการจัดงานมีการใช้วัตถุอันตรายบางประเภท
เช่น มีการจุดไฟ จุดพลุ หรือยิงปืนขึ้นฟ้า
ซึ่งก็ล้วนแต่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้นั้น
หากมีความเสียหายเกิดขึ้นมา นอกจากผู้จุดไฟ/ยิงปืน
ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว เจ้าภาพงานผู้จัดงานแม้จะไม่ใช่ผู้จุดไฟ/ยิงปืน
ถือว่าเป็นผู้ใช้ ย่อมต้องร่วมรับผิดในความเสียหายด้วย จะอ้างว่าเป็นคนจัด
ไม่ใช่คนทำนั้น ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดในทางแพ่งได้
เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2557
แม้จำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย
แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ขึ้นที่บ้านของตนเอง
การจุดพลุเป็นพิธีการส่วนหนึ่งของการเปิดงาน การที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุ อันเป็นสัญญาณเริ่มต้นเปิดงานต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจุดพลุเปิดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ที่จำเลยที่ 2 จัดให้มีขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย
อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 425 ประกอบมาตรา 427 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองด้วย
ฉะนั้น ปึใหม่นี้ ใครจะจุดพลุจุดไฟอะไร
ก็ขอให้ใช้ความระมัดระวังกันด้วยนะครับ
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments