ครองครองที่ดินของบุคคลอื่นอย่างไร ? ให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

          คดีครอบครองปรปักษ์นับว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญและมีจำนวนคดีขึ้นสู่ศาลจำนวนมากมาย หลายคนก็ได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่อีกหลายคนก็แพ้คดี ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งเรื่องครองครองที่ดินของบุคคลอื่นอย่างไร ให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เรามีตัวอย่างหลักเกณฑ์มาให้อ่านและศึกษากันครับ

          เรื่องมีอยู่ว่า นางหนึ่งและนายสองเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งมีเขตที่ดินติดต่อกัน นางหนึ่ง ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของตนและรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของนายสองบางส่วนที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกันลึกเข้าไปประมาณ 10 เมตรตลอดแนวเขตที่ดิน โดยนางหนึ่ง เข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของตน ส่วนนายสองก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด วันเวลาล่วงเลยมากว่าสี่สิบปี เมื่อนายสองเสียชีวิต นายสามบุตรชายได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวของนายสองมาแล้วทำการรังวัดที่ดินใหม่จึงทราบว่า นางหนึ่งได้ทำกินรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของตนบางส่วน นายสามจึงให้นางหนึ่งออกไปจากที่ดิน และนำตำรวจมาเชิญตัวเพื่อบีบบังคับให้นางหนึ่งออกไปจากที่ดินดังกล่าว นางหนึ่งจะโต้แย้งคัดค้านอย่างไร จะมีสิทธิในที่ดินที่ครอบครองรุกล้ำหรือไม่ ซึ่งหลายคนก็คิดและเข้าใจว่า นายสามเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนด หลักหมุดแสดงเขตแดนอยู่ตรงไหน นายสามย่อมมีสิทธิไปถึงที่ดินตามหมุดแสดงเขตแดนตรงนั้น ยังไงนางหนึ่งก็ต้องออกไปจากที่ดินที่รุกล้ำนั้น ความเข้าใจดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ 
           ตามกฎหมายที่ดินมีโฉนด…ย่อมเป็นหลักฐานสำคัญที่จะแสดงว่าบุคคลผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินที่ดินมีโฉนดดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่มิใช่ว่า เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดแล้วจะไม่มีใครมาแย่งกรรมสิทธิ์เอาไปได้เลย อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ เพราะเจ้าของที่ดินอาจเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยการครอบครองปรปักษ์ได้

          การครอบครองปรปักษ์นั้นเป็นอย่างไรกัน บางคนยังไม่เคยฟังมาก่อนเลย หรืออาจจะเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่ก็ไม่เคยสนใจ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับตน แต่บางคนได้เจอมากับตัวพร้อมๆกับต้องเสียที่ดินไปแล้วเพราะคำๆนี้ แล้วเกิดอาการเจ็บอกปวดหัวใจไม่หายจนกระทั่งบัดนี้เลยทีเดียว เอาเป็นว่า การครอบครองปรปักษ์ เป็นถ้อยคำที่มีทั้งคนที่ชื่นชอบชวนหาเรื่องให้ปวดหัวเสียเงินเสียทองอยู่เสมอและไม่ชอบคำนี้ เพราะเจ้าของที่ดินที่มีบุคคลอื่นเข้าไปแย่งการครอบครองจนครบ 10 ปีแล้วก็จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ทันที กรณีเช่นนี้ เจ้าของที่ดินที่ถูกแย่งการครอบครองก็จะเกลียดคำว่า ปรปักษ์ ในทางกลับกันผู้ที่เข้าไปแย่งการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์มาก็จะชื่นชอบคำว่า ปรปักษ์ เป็นอย่างมาก ฝ่ายที่ได้กรรมสิทธิ์ต้องยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งรับรองและคุ้มครองสิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องตามกฎหมาย ฝ่ายที่จะเสียสิทธิ์ก็ต้องว่าจ้างทนายความต่อสู้คดีเพื่อมิให้เสียสิทธิ์ของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนทนายความทุกท่านจะชอบคำนี้มากเพราะได้เงินค่าจ้างว่าความ เรียกว่า หลับได้เงินหมื่น ตื่นได้เงินแสน วันใดขาดแคลนได้สักสี่ห้าร้อยก็พอ

           เรื่องการครอบครองปรปักษ์ทรัพย์ของผู้อื่นแล้วได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์นั้น มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

          หลักเกณฑ์การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ มีดังต่อไปนี้

          1.ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีการเข้าไปยึดถือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของผู้อื่น จะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินของผู้ครอบครองปรปักษ์เอง เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น

          2.ทรัพย์สินที่ครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น และหากที่ดินดังกล่าวทางราชการเพิ่งจะออกโฉนดที่ดิน ระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่ดินจะออกโฉนดจะไม่นำมานับรวมเพื่อได้สิทธิ์ ที่ดินมีการออกโฉนดเมื่อใดก็เริ่มนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไปจนครบสิบปีจึงจะได้กรรมสิทธิ์ ส่วนที่ดินมือเปล่า ได้แก่ ที่ดินตาม ส.ค.หรือ น.ส.หรือ น.ส. 3 ก. หรือไม่มีหลักฐานใดเลย จะมีได้เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ได้ แต่ที่ดินประเภทนี้สามารถแย่งการครอบครองกันได้ ซึ่งจะไม่กล่าวในบทความนี้

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2550 การครอบครองที่ดินของผู้อื่น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 นั้น ต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่ได้ออกโฉนดแล้วเท่านั้น ทั้งจะต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีด้วย เมื่อทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งห้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 นับถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้ง ยังไม่ถึงสิบปี จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จำเลยทั้งสองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น

          3.ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ คือครอบครองอยู่ได้โดยไม่ได้ถูกกำจัดให้ออกไป หรือถูกฟ้องร้องมีคดีความกัน หรือโต้เถียงกรรมสิทธิ์กั  น เช่น ต่างฝ่ายต่างหวงห้ามต่อกันโดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของจะถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบไม่ได้

          4.ต้องเป็นการครอบครองโดยเปิดเผย คือ ไม่ได้มีการปิดบังอำพราง หรือซ่อนเร้นเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น สร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น โดยมีเจตนาเพื่อซ่อนเร้นปกปิดการกระทำที่ไม่ชอบของตน ไม่อาจถือว่าครอบครองที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยเปิดเผย ตามมาตรา 1382 ดังนั้น แม้จะมีการครอบครองมานานเท่าใด ก็ไม่ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว (ฎ.5238/2546)

          5.ต้องเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ การยึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น แต่จะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย เช่น ต้องมีการทำประโยชน์ใช้สอยทรัพย์สินนั้นมีการขัดขวางห้ามบุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น และไม่เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ หรือยอมรับอำนาจกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์นั้นด้วย

          6.ระยะเวลาในการได้กรรมสิทธิ์ ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ มีคำกล่าวติดตลกกันว่าแย่งครอบครองไม้ขีดไฟต้องใช้เวลาถึง 5 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ แต่แย่งครอบครองที่ดินมือเปล่าใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี ก็ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองแล้ว

          7.ประการสุดท้ายแม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ครอบครองจะต้องกระทำด้วยความสุจริตก็ตาม แต่การใช้สิทธิแห่งตนบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต การใช้สิทธิทางศาลจึงต้องมาด้วยมือที่สะอาด การแย่งการครอบครองที่มีเจตนาไม่สุจริต เช่น ลักทรัพย์ บุกรุก ฉ้อโกง ฯลฯ อันมีพฤติกรรมเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยผิดศีลธรรมหรือผิดกฎหมาย ก็จะไม่ได้กรรมสิทธิ์ และไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

          ข้อสังเกต ทรัพย์สินที่จะครอบครองปรปักษ์ไม่ได้เลย กล่าวคือครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เช่น ทรัพย์สินของแผ่นดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่วัดที่ธรณีสงฆ์ เป็นต้น ส่วนกรณีผู้ครอบครองปรปักษ์ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ครอบครองแล้ว ผู้ครอบครองปรปักษ์จะบังคับให้เจ้าของไปจดทะเบียนโอนให้ไม่ได้ แต่ผู้ได้สิทธิดังกล่าวจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าเป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วจึงนำคำสั่งศาลดังกล่าวไปยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ต่อไป นอกจากนี้ การครอบครองปรปักษ์เป็นการได้อสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือศาลจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์แล้วก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียน (โฉนด) แม้จะครอบครองนานเพียงใดก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วไม่ได้นั่นเอง ดังนั้น หากเจ้าของได้โอนที่ดินไปยังผู้อื่น ถ้าผู้รับโอนได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน และสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครอง มีผลทำให้การครอบครองปรปักษ์ก่อนหน้านั้นสิ้นไป ต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่

จากหลักกฎหมายเรื่องการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวข้างต้นนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า แม้จะเป็นเจ้าของที่ดินที่มีโฉนดแล้วก็ตาม ก็อาจเสียกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ว่าทั้งแปลงหรือบางส่วนได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์เป็นบทกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ลงโทษเจ้าของที่ดินที่ละทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดินของตน ซึ่งปัญหาเรื่องที่ดินแบบนี้ได้มีมานานแล้ว มีเรื่องขึ้นโรงขึ้นศาลกันเป็นจำนวนมากด้วย เจ้าของที่ดินมีโฉนดเสียสิทธิในที่ดินไปเป็นจำนวนหลายรายเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเกิดกับบุคคลที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าแนวเขตที่ดินของตนถึงแค่บริเวณใด ทั้งที่ความจริงเจ้าของที่ดินข้างเคียงอาจรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของตนก็ได้ หรือเกิดขึ้นกับคนที่มีที่ดินอยู่ในครอบครองเป็นจำนวนมาก อาจจะจำไม่ได้ว่าเป็นเจ้าของตรงที่ไหนบ้าง หรือมีแนวเขตที่ดินถึงส่วนไหนบ้าง หรือไม่เคยไปเหลียวแลดูที่ดินของตนเองหรือทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย เจตนารมณ์ของกฎหมายเรื่องการครอบครองปรปักษ์ต้องการให้เจ้าของที่ดินนั้นใช้ประโยชน์ในที่ดินให้คุ้มค่า ไม่ปล่อยปละละเลยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ดินทุกแห่งทุกแปลงหากเอาไปทำการเกษตรย่อมผลิตดอกออกผลได้อย่างแน่นอน อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ กฎหมายจึงลงโทษเจ้าของที่ดินที่ไม่ใส่ใจดูแลที่ดินของตนเอง โดยมีบทบัญญัติให้บุคคลใดที่ครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นระยะเวลารวม 10 ปี แล้วได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ไปทันทีตามกฎหมาย แม้ว่าชื่อในโฉนดที่ดินจะยังเป็นของเจ้าของเดิมก็ตาม ผู้ครอบครองก็มีสิทธิจะไปร้องขอกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นต่อศาลได้

เมื่ออ่านหลักกฎหมายมาแล้ว ที่นี้ก็มาว่ากันถึงเรื่องของนางคำต่อไปครับ การที่นางคำเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินบางส่วนของนายบุญโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกิน 10 ปีแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย แม้ว่านางคำจะเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของตนเองก็ตาม และการที่นายครองได้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินของนายบุญเจ้ามรดกนั้น นายครองก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า นางคำครอบครองไม่ถึงสิบปีนับแต่วันที่ตนรับโอนมรดกมาไม่ได้ เพราะการรับมรดกที่ดินของนายครอง เป็นเวลาภายหลังที่นางคำได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว นายครองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการรับมรดกต้องรับไปทั้งสิทธิและตลอดจนความรับผิดต่าง ๆ ประกอบกับนายครองไม่ใช่บุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง นางคำผู้ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยครอบครองปรปักษ์ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนดังกล่าวได้ และนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อของตนต่อไปได้ ผู้เขียนได้นำคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุดของประเทศที่ได้เคยตัดสินเป็นบรรทัดฐานการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับนางคำมาให้ผู้อ่านศึกษาเป็นตัวอย่างด้วยดังนี้

          1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2552 การที่ผู้ร้องทั้งห้าได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นแม้จะเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของตนเองก็ตาม หากแต่ผู้ร้องทั้งห้าได้ยึดถือครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องรู้มาก่อนว่าที่ดินนั้นเป็นของผู้อื่นแล้วแย่งการครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ แม้ผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านทั้งสามโดยเข้าใจผิดว่าเป็นของผู้ร้องทั้งห้าเองก็ถือได้ว่าเป็นการเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้ว หากผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกิน 10 ปี ผู้ร้องทั้งห้าย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย

          2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2550 การครอบครองที่ดินโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จะเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง ก็ถือเป็นการครอบครองที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ มิใช่นับแต่ที่จำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองนั้นเป็นที่ดินของโจทก์เพราะถือว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว

          3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2533 การที่โจทก์ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินพิพาทของโจทก์ ก็ไม่เป็นผลดีแก่คดีของโจทก์เพราะเป็นการแจ้งความภายหลังที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ หากรุกล้ำจำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งและเสียค่าขึ้นศาลมาก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์ก็เพียงพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์หาได้พิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่ โจทก์ได้รับการยกที่ดินให้และได้รับมรดกจาก ก. ย. และ ส.โดยมิได้เสียค่าตอบแทน ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แม้จะยังมิได้จดทะเบียนก็ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ เพราะแม้โจทก์จะจดทะเบียนโดยสุจริต แต่ก็มิได้เสียค่าตอบแทนแต่อย่างใด.

          4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2536 จำเลยทั้งสามได้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกที่พิพาทอันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วจำเลยทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการรับมรดกต้องรับไปทั้งสิทธิและตลอดจนความรับผิดต่าง ๆ จำเลยทั้งสามจึงมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ผู้ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยครอบครองปรปักษ์ ซึ่งบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสาม และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าว ที่ทำให้ตนเสียเปรียบได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300

          5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2544 โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์โจทก์ขอรังวัดตรวจสอบแนวเขต จำเลยทั้งสองคัดค้านขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยทั้งสองคัดค้านการรังวัดสอบเขตจำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 โดยซื้อมาจาก น. แต่จำเลยทั้งสองกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตามหากฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนานกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งตอนแรก ซึ่งอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะซื้อมา จึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: ตาล [IP: 49.229.108.xxx]
เมื่อ: 2017-11-04 15:50:25
ขอสอบถามค่ะ เรื่องการครอบครองปรปักษ์
ที่ดินมรดกจากพ่อกับแม่ค่ะ ก่อนแม่เสียแม่ยกให้เป็นชื่อของน้องสาวกับหลานสาวผู้ที่เป็นลูกสาวของพี่สาวคนโตค่ะหลานคนแรกของบ้าน หลังจากแม่เสียน้องสาวก็บอกว่าเดี๋ยวจะแบ่งให้พี่ๆกับน้องๆทุกคนแต่ต้องรอให้น้าหรือน้องสาวแม่เสียไปเสียก่อนเพราะไม่เช่นนั้นจะต้องแบ่งที่ดินให้น้าสาวด้วยเพราะเขาก็เป็นเจ้าของเหมือนกัน รอมาอีก10ปีจนน้าสาวเสียน้องสาวก็ยังไม่ยอมแบ่งบอกให้รอไปก่อนเพราะเอาโฉนดที่ดินไปจำนองกับแบงค์ไว้ยังไม่ได้ไปเอาออก รอจนน้องเสียก็ยังไม่ได้แบ่ง จนตอนนี้น้องเสียได้ครบ1ปีเต็มแล้วแต่หลานทั้ง2ก็ยังไม่ยอมแบ่งที่ดินให้ลุงๆป้าๆเลยค่ะ เขาบอกว่าที่ดินผืนนี้เป็นของส่วนรวมใครจะอยู่ตรงไหนก็อยู่แต่ไม่แบ่งให้ใครเด็ดขาด ถ้าใครอยากได้ก็ให้ไปฟ้องศาลเอาเองค่ะ ที่ดินที่อยู่มาตั้งแต่สมัยหลานๆยังไม่เกิดเลย แต่พึ่งจะออกโฉนดปี2545ค่ะ แบบนี้เราผู้เป็นป้าจะฟ้องร้องเรื่องการครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่คะ แม่ยกให้เป็นชื่อน้องตอนปี2547ค่ะ แล้วปี2550น้องก็เอาชื่อหลานสาวคนโตใส่เป็นกรรมสิทธิ์รวมไม่มีค่าตอบแทนค่ะ ปี2556ก็เอาไปจำนองกับแบงค์ ปี2559น้องเสียหลานทั้ง2ก็ไปไถ่ถอนออกมาค่ะ
รบกวนขอคำปรึกษาด้วยค่ะ กลัวถ้าเราตายไปลูกๆหลานๆของเราจะโดนไล่ที่ค่ะ เป็นห่วงบูกกับหลานค่ะ
เบอร์ติดต่อ 0907846043 ไอดีไลน์ tarn4t
#2 โดย: วัฒน์ [IP: 223.24.160.xxx]
เมื่อ: 2019-12-04 20:11:02
ที่ดินมีโฉนดแต่ถ้าให้เขาเช่าเกิน10ปีจะเสียสิทธิการครอบครองให้กับผู้เช่ามั้ยครับ ครอบครองปรปัก นะครับ
#3 โดย: ท๊อป [IP: 184.22.164.xxx]
เมื่อ: 2019-12-24 08:17:51
การเช่าที่ดินมิใช่การครอบครองและยึดถือเป็นของตน มิได้มีเจตนาเป็นเจ้าของ มิเข้าองค์ประกอบในเรื่องครอบครองปรปักครับ แม้ผู้เช่าจะเช่าครอบครองและอยู่ในที่ดินเกินกว่าสิบปีก็ไม่ได้กรรมสิทธครับ
#4 โดย: Kung nang [IP: 27.55.87.xxx]
เมื่อ: 2020-01-05 18:54:30
ที่ดินที่อยู่มาเกิน 40 ปีในสมัยก่อน ซื้อขายกันแบบคนบ้านๆไม่มีหลักฐาน พอจะขอแยกโฉนดจากเจ้าของที่ ก็บ่ายเบี่ยง บอกเราไม่เคยซื้อ จะไม่ยอมให้เรา ทั้งที่เราอาศัยอยู่มานานเกิน40 ปี มีทะเบียนบ้านมีเลขที่บ้าน เรามีสิทธิ์ในที่ดินตรงนี้มั้ยคะ
#5 โดย: ราตรี [IP: 1.46.170.xxx]
เมื่อ: 2020-01-10 08:49:05
อยากทราบคำตอบขอท่านที่4ค้ะกรณีคล้ายๆกัน
#6 โดย: ภู [IP: 223.24.94.xxx]
เมื่อ: 2020-02-21 03:48:53
อยากทราบว่าพี่สาวของพ่อให้พ่อสร้างบ้านในที่ดินของเขาเมื่อหลายสิบปีก่อนแล้วพ่อผมเสียแล้วลูกของพี่เขาจะเอาที่คืนได้ไหมครับ
#7 โดย: นายไฑโรจน์ รุ่งเรืองรอง [IP: 101.108.135.xxx]
เมื่อ: 2020-02-27 09:27:28
อยากเรียนถามว่า
กรณี ที่ดินข้างเคียง ซึ่งมีร่องน้ำ ลำประโดง แบ่งเขตที่ดิน แต่ลำประโดงนี้ไม่ได้ปรากฏ ในโฉนด เนื่องจาก เป็นการตกลงกันเอง เพื่อเป็นร่องน้ำนำน้ำจากคลองใหญ่เข้าสวน และขนย้ายผลิตผล มานานเกิน 60 ปีแล้ว เมื่อที่ดินข้างได้ซิ้อที่ดินและรังวัดในปี 2547 แล้วได้กั้นรั้วคอนกรีต กลางร่องน้ำ ลำประโดงซึ่ง จนท.ที่ดิน ได้สอบเนื้อที่ทุกแปลงทางฝั่งนี้ของร่องน้ำ ว่ามีเนื่อที่ครบตามโฉนด
ต่อมา ในปี2562 ที่ดินข้างเคียง ได้มาอ้างว่า ที่ดินนอกแนวกำแพงรั้ว ทางฝั่งนี้ เป็นของเขา ได้ขอรังวัดที่ดิน โดยการนำชี้แนว ข้ามร่องน้ำ ลำประดง ลุกล้ำมาในรั่วบ้านของข้าพเจ้า และทุกแปลงในฝี่งนี้ โดย จนท. ที่มารังวัดไม่ยอมตรวจสอบเนื้อที่ดินฝั่งนี้ ให้เลย ได้ไปคัดค้าน ตลอด เมื่อไม่ยอมห้นำหลักเขตมาปีกในรั้วบ้านข้าพเจ้า ก้อนำหลักเขตใหม่ ไปปักข้างรั้วด้านนอก
ในที่สุด ในการรังวัดครั้งที่4 ซึ่งก็ยังตกลงกันไม่ได้ จนท.จึงถามว่า แต่ละฝ่ายคิดว่าที่ของตนอยุ่ตรงไหน แลัวให้ไปฟ้องศาลภายใน90วัน โดยไม่ายอมบอกแนวพิกัดที่ดินที่ถูกต้อง ที่ดินข้างเคียงได้ยื่นฟ้องศาลว่าข้าพเจ้าและเจ้าของที่ดินฝั่งนี้ลุกลำ้
อยากเรียนถามว่า การรังวัด ในปี2547 ใช้ไม่ได้หรืออย่างไรเพราะเขาก็ เป็นผู้รังวัดเองและยอมรับแนวที่ดินกั้นรัวแสดงอาณาเขตไปแล้ว โดยปัจจุบันที่ดินนอกแถวกำแพงรั้ว อีกฝั่งของลำประโดง กอ้ไม่ได้ก่อสร้างพือทำอะไรเพิ่มเติมจากปี2547 มีแต่บ้าน ที่ปลูกมาแต่ก่อนที่ขาจะซือที่เดิน และแนวทางที่ข้าพเจ้าและพวก อีก5แปลง จะต่อสุ้ เพื่อแสดงว่า ไม่ได้รุกล้ำ และที่ดินทุกแปลง ฝั่งนี้เป็นที่ดินของตนเองตามโฉนด ตองใช้หลักฐาน และพยายใด บ้างเพื่อมาชี้แจงต่อศาล
#8 โดย: นาง นิด [IP: 31.21.248.xxx]
เมื่อ: 2020-03-08 16:40:39
สวัสดีค่ะ อยากจะถามว่ากรณีที่ชื้อที่ดินมานานก่า30ปี แต่ใช้ชื่อร่วมกับแฟนเก่าที่ไม่ได้จดทะเบียนกันค่ะ ที่ดินปล่อยทิ้งไว้นานโดยมีญาติของดิฉันดูแลให้ถมที่ดินเรียบร้อยแล้วเป้นเวลานานมาแล้ว ถมมา20ปีและปลูกต้นกล้วยไว้ค่ะ เมื่อ1ปีที่ผ่านมาดิฉันได้ไปปลูกบ้านหลังเล็กไว้ในที่ดินโดยขอชื่อบ้านและนำ้ไฟเป็นของดิฉันแล้วแบบนี้จะครอบครองที่ดินเพียงผู้เดียวได้ไหมค่ะ เพราะสามีเก่าเขาไม่เคยมาดูแลและไม่สามารถติดต่อเขาได้นะค่ะ ขอความคิดเห็นด้วยนะค่ะ
#9 โดย: Jazz [IP: 116.58.226.xxx]
เมื่อ: 2020-03-15 12:51:38
อยากทราบคำตอบของคำถามท่านที่ #4 คะ เจอเคสแบบเดียวกัน
#10 โดย: ท็อป [IP: 202.44.251.xxx]
เมื่อ: 2020-03-28 20:05:38
ซื้อที่นาใว้20กว่าปี แต่ไม่ได้ไปทำกิน ให้พี่ชายแฟนเป็นคนทำ แต่ต่อมาแฟนเสียไป และดิฉันพึ่งดำเนินการเปลี่ยนจากชื่อแฟน มาเป็นชื่อของตัวเอง ได้ไม่ถึงปี อยากถามว่า ถ้าพี่ชายใช้สิทธิ์ปรปักษ์ ไก้ใช่ไหมคะ
#11 โดย: ศุภโชค [IP: 122.155.47.xxx]
เมื่อ: 2020-04-02 09:40:59
พ่อผมทำไร่มา20+ปีแล้ว
อยู่มาวันหนึ่งไร่ติดกับพ่อผมบอกว่า
รุกล้ำที่เขา
พ่อผมก็ทำไร่มานานเป็นเวลา20+แล้ว
ทำไมพึ่งมาบอก
ทั้งๆที่พ่อผมก็ทำแบบเปิดเผยนะครับ ไม่ปกเปิด
..
.
.แบบนี้ควรทำไงครับ
#ที่ดินพ่อผมกับที่ดินเขา
ต่างเป็นที่ดินมือเปล่า(ไม่มีโฉนด)ครับ
#12 โดย: พัชรินทร์ [IP: 49.49.246.xxx]
เมื่อ: 2020-04-24 14:34:28
อยากได้แบบฟอร์มที่เซ็นต์สัญญาเพื่อป้องกันการทะเลาะในภายภาคหน้าและแม่สามีเรียกร้องเอาที่ดินคืนค่ะ ให้เค้าเซ็นต์ยินยอมตั้งแต่ก่อนปลูกสร้างค่ะ
#13 โดย: ว่าง [IP: 110.77.148.xxx]
เมื่อ: 2020-05-13 14:14:36
สอบถามค่ะ
ในกรณีที่เช่าที่ดินทำไร่เกิน 10 ปี โดยไม่ได้สัญญาการเช่าซึ่งกันและกัน ถ้าแบบนี้คนที่เช่า เขาสามารถยึดที่ดินชองเราไปเป็นของเขาได้รึปล่าวค่ะ
#14 โดย: ชาย [IP: 182.232.56.xxx]
เมื่อ: 2020-05-17 10:37:15
สอบถามค่ะชื้อที่ได้5ปีแล้วค่ะมีใบชื้อขายค่ะมาปลูกบ้านอยู่5ปีแล้วค่ะแต่ยังไม่ได้โอนค่ะทำยังไงคะถึงจะได้ที่ดินคะเจ้าของเขายังเฉยอยู่ค่ะ
#15 โดย: หลิว [IP: 182.232.39.xxx]
เมื่อ: 2020-06-03 14:52:08
แบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้วรอเจ้าของโฉนดที่ดินมาเซ็นต์ให้
แต่เจ้าของเอาไปจำนองยังงี้เราสามารถฟ้องได้ไหม
ที่ดินซื้อขายสมัยก่อนแบบ คนบ้านนอกและอาศัยอยู่มา30ปีแล้ว
ดำเนินการเสร็จแล้ว แต่เอาไปจำนอง
#16 โดย: ชินจัง [IP: 182.232.250.xxx]
เมื่อ: 2020-06-24 00:33:26
ซื้้อที่ดิน(นส3ข)60ตรว.มีบ้าน1หลังอยู่มา20กว่าปี
เจ้าหน้าที่รังวัดมาวัดปรากฎว่าบ้านล้ำเข้าที่ข้างเคียง
อยากทราบว่าบ้านล้ำไปจะได้ใคร
(ซื้อขายมีการวัดและโอนเรียบร้อย)
#17 โดย: แพท [IP: 223.24.159.xxx]
เมื่อ: 2020-07-16 21:45:22
ทีดินมรดกแม่ยกให้เราแต่พีชายปลุกบ้านในทีเราแต่บ้านเราก็ปลุกด้วยในแปลกเดียวกันนานเกิน10ปีแบบนี้เขาฟ้องเอาได้มัยคะถ้านานไป
#18 โดย: Mo [IP: 182.52.167.xxx]
เมื่อ: 2020-07-22 17:58:15
อยากทราบคำตอบข้อ 4 เหมือนกันค่ะเหตุการณ์คล้ายๆๆกัน
#19 โดย: [IP: 110.169.8.xxx]
เมื่อ: 2020-08-02 11:23:18
อยากได้คำตอบ ข้อ 6 ค่ะ คล้ายๆกัน
#20 โดย: เก๋คะ [IP: 1.47.11.xxx]
เมื่อ: 2020-08-13 22:16:56
ที่ดินตาทวด ญาติเอาโฉนดไปจำนองสมัยก่อนไม่มีสัญญากัน
คุณพ่อและครอบครัวอยู่ในที่ดินนี้ปลูกบ้านทำไร่นาในที่ดินมาตั้งแต่คุนพ่อเด็กๆจนปัจจุบัน พ่ออายุ 72ปี ขอน้ำไฟ เป็นเจ้าบ้าน เสียภาษีทุกอย่าง มีช่วงคุนพ่อ อายุ 55ปี หลานของคนที่เอาโฉนดไปจำนอง มาขอทำสัญญาเช่ากับพ่อ พ่อก็เซ็นไป โดยไม่รู้เรื่อง เมื่อปีที่แล้วทางผู้ที่ไปจำนองได้มาทำรังวัดที่ดินโดยแบ่งพื้นที่ดินให้ทายาทของตนเอง สามารถฟ้องปรปักได้ไหมคะ โดยที่ทางคนที่ไปจำนองไม่เคยมาอยู่ในพื้นที่เลย แต่ที่บ้านปลูกสร้างสิ่งของใช้ที่ดินเป็นประโยชน์มาตลอด และทางผู้ที่เราไปจำนอง ไม่เคยมาแสดงตนหรือเก็บค่าเช่าที่ดินมา55ปี เพิ่งมาเก็บ ตอนพ่ออายุ 56-72 นี้เองคะ สามารถฟ้องปรปักได้ไหมคะ Tel.082-7848166 คะ
#21 โดย: ไก่คะ [IP: 171.4.227.xxx]
เมื่อ: 2021-02-11 12:50:49
อยากทราบรายละเอียดเหมือนความคิดเห็นที่ 4 คะ



รบกวนด้วยนะคะ
E-mail:kanjanakai27@gmail.com
#22 โดย: ต่ายค่ะ [IP: 49.237.21.xxx]
เมื่อ: 2021-04-04 18:09:12
อยากทราบคำตอบข้อ4ค่ะกรณีคล้ายกัน
#23 โดย: ประมวล [IP: 49.230.13.xxx]
เมื่อ: 2021-04-08 02:21:45
ขอสอบถามหน่อยครับผม เรื่องมีอยู่ว่ามีลูก7คนคนที่หนึ่ง1ตายไปเหลือยู่6คนแต่ลูกคนที่5เลี้องดูพ่อแม่
และพี่ชายคนที่1จบตายเรื่องมีอยู่ว่าพี่ที่234และน้องคนที่67อย่างมาขอแปงที่ดินที่ินมีอยู่2งานพ่อและแม่บอกให้ลูกคนที่5ตั้ง่อาสัยจุดนี้แต่ที่ดินยังเป็นชื้อคนตายคือพ่อแม่ อย่างถามว่าที่ดินที่พ่อแม่ให้ตั้งมากว่า20ปี
ปีดินตรงนี้จะเป็นของลูกคนที่5ได้หรือไหมครับ
#24 โดย: พี [IP: 14.207.83.xxx]
เมื่อ: 2021-04-23 16:46:44