การออกเช็คโดยไม่ลงวันที่สั่งจ่าย ผู้ออกเช็คไม่ผิดทางอาญา

             การออกเช็คหรือสั่งจ่ายเช็คมีอยู่ด้วยกันหลายกรณี ซึ่งมีผลทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรือทางอาญา แต่โดยหลักการแล้ว การออกเช็คนั้น หากเป็นการออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ผู้ออกเช็คย่อมมีความผิดในทางอาญา แต่อย่างก็ดี แม้ว่าการออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายจะมีความผิดทางอาญาก็ตาม แต่หากการออกเช็คนั้น ไม่มีรายการอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา ย่อมไม่มีความผิดเช่นกัน ความจริงแล้วการออกเช็คมีมากมายหลายกรณีมาก แต่ในวันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอเพียงกรณีเดียว คือ “การออกเช็คโดยไม่ลงวันที่สั่งจ่าย”  หากผู้ทรงเช็คนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้ว ปรากฏว่าธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินหรือที่เรียกกันติดปากว่า “เช็คเด้ง” กรณีนี้ถือว่าผู้ออกเช็คไม่มีความผิดทางอาญา มาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกากันครับ

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2536

        จำเลยที่ 2   ออกเช็คโดยไม่ลงวันออกเช็ค  ย่อมถือว่าไม่มีวันที่จำเลยกระทำความผิด   แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงกันก็มีผลทำให้เช็คนั้นสมบูรณ์มีรายการครบถ้วนตามกฎหมาย เพื่อใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น   การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

 

            เหตุผลที่ศาลตัดสินว่าจำเลยไม่มีความผิดทางอาญา เพราะ

            1. จำเลยออกเช็คโดยไม่ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด

            2. แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณีก็ตาม

            3.มีผลเพียงให้เช็คพิพาทสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น

            4.การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดทางอาญา

 

            สำหรับการออกเช็คที่ไม่เป็นความผิดทางอาญากรณีอื่นๆนั้น โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 641,739