แต่งงานไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน...เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของใคร ?
เด็กทุกคนที่เกิดมา ไม่ว่าบิดามารดาจะสมรสกัน หรือไม่ก็ตาม กฎหมายก็ให้ถือว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดา ตามมาตรา 1546 ซึ่งเป็น
บทบัญญัติเพื่อคุ้มครองเด็กที่เกิดมา ให้ต้องมีผู้รับผิดชอบดูแลอย่างน้อยหนึ่งคน
และหนึ่งคนในที่นี่ได้แก่ มารดาซึ่งก็คือหญิงที่คลอดเด็กนั้นนั่นเอง
มารดาคงอ้างไม่ได้ว่า เด็กนั้นไม่ใช่บุตรของตน แม้ไม่ปรากฏว่าใคร
เป็นบิดาของเด็กก็ตาม
เด็กที่เกิดในขณะที่บิดามารดาไม่ได้สมรสกัน มีผลเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาเพียงฝ่ายเดียว และเป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา
แม้เด็กและบิดาจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ก็ไม่มีความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
ไม่เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน
เด็กที่เกิดก่อนสมรสหรือเด็กที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้สมรสกัน ต่อมาอาจเปลี่ยนฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้
โดยบิดามารดาสมรสกันภายหลังเด็กเกิด หรือ บิดาจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร
หรือมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร (มาตรา 1547
) ซึ่งมีผลให้เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาย้อนไปถึงวันที่เด็กเกิดทั้งสามกรณี
ปัจจุบันปัญหาเรื่องการแย่งบุตรมีเยอะมาก
เนื่องมาจากบิดามารดาเลิกราแยกทางกัน และต่างฝ่ายต่างต้องการบุตร
แต่อีกฝ่ายไม่ให้บุตรไปอยู่กับอีกฝ่าย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
คนที่น่าสงสารที่สุดนั้นคือ “เด็ก” นอกจากที่ต้องขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่แล้ว
เด็กบางคนนั้นรู้สึกเหมือนว่าเขาเป็นสิ่งของที่แย่งกันไปแย่งกันมา
แม้ความรักของบิดากับมารดาจะจบลงแล้วนั้น หากคุณมีลูก
คุณควรนึกถึงความรู้สึกของเขาและใส่ใจเขาให้มากๆ
ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่พ่อและแม่กันไปให้เด็กได้เติบโตอยู่ในสังคมได้
อย่าเห็นแก่ความสุขของตนมากเกินไป
สุดท้ายถ้าอีกฝ่ายไม่ยินยอมให้พบบุตร หรือกีดกัน
อีกฝ่ายสามารถร้องต่อศาลให้ศาลเป็นคนกำหนดอำนาจปกครองบุตรได้ ทั้งนี้
ศาลจะคำนึงถึงความผาสุกของเด็กเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีเด็กควรมีทั้งพ่อและทั้งแม่
กรณีตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2546
เมื่อโจทก์คลอดบุตรผู้เยาว์แล้วได้เลี้ยงดูด้วยตนเองตลอดมา
ต่อมาโจทก์ไม่อาจทนอยู่กับจำเลยที่บ้านจำเลยได้ ต้องกลับไปอยู่บ้านบิดามารดาโจทก์
โจทก์ก็นำบุตรผู้เยาว์ไปเลี้ยงดูด้วย
แม้บิดาจำเลยไปหลอกนำบุตรผู้เยาว์กลับมาที่บ้านจำเลย โจทก์เพียรพยายามขอพบบุตรผู้เยาว์ แต่ถูกกีดกันไม่ให้พบ โจทก์ยังคงห่วงใยและมีความรักบุตรผู้เยาว์แม้ถูกฝ่ายจำเลยพรากไป
ทั้งโจทก์มีรายได้สามารถอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ด้วยตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือของจำเลย
ส่วนจำเลยเมื่อบิดาจำเลยนำบุตรผู้เยาว์กลับมา
จำเลยและบิดามารดาจำเลยไม่อาจเลี้ยงดูได้เพราะต้องไปทำงานทุกคน ต้องให้ญาติฝ่ายบิดาจำเลยเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ตลอดมาจนถึงวัยเรียน
และจำเลยมีรายได้น้อย ยังต้องพึ่งพาบิดามารดาจำเลยอยู่ ไม่อาจเลี้ยงดูบุตรภริยาได้
โจทก์จึงสมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments