สินสมรส แม้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่ได้มีส่วนในการทำมาหาได้ร่วมกัน ก็ถือเป็นสินสมรส
โดยปกติแล้วนั้น
หากคู่สามีภรรยาที่อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ทรัพย์ที่ร่วมกันทำมาหาได้ย่อมมีลักษณะเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทั้งชายหญิง ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิในบรรดาทรัพย์ดังกล่าวด้วยกันคนละครึ่ง แต่หากมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว ทรัพย์ที่ทั้งสองฝ่ายได้มาระหว่างสมรส
หากไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายแล้วก็ตกเป็นสินสมรสทั้งสิ้น
โดยไม่ต้องดูว่าคู่สมรสมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้หรือไม่ อย่างไร เช่น เงินเดือนของคู่สมรส หรือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินบุคคลภายนอก
แม้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนช่วยเหลือใดให้ได้มา
ก็ยังคงเป็นสินสมรสอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2556 แม้ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรสกับโจทก์จะเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นก็ต้องถือว่าในส่วนที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะสินสมรสไม่จำต้องเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองเป็นฝ่ายร่วมกันทำมาหาได้
หากแต่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาก็ย่อมมีผลให้เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474
(1) โดยไม่จำต้องมีข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมก่อนจึงจะเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14040/2557 โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันและซื้อที่ดินพร้อมบ้านภายหลังจดทะเบียนสมรส
แม้ที่ดินและบ้านระบุชื่อโจทก์เพียงฝ่ายเดียวแต่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส
จึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยได้มาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474
(1) ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องนำมาแบ่งกันเมื่อขาดจากการสมรสโดยได้ส่วนเท่ากันตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12250/2557
โจทก์ร่วมกับจำเลยจดทะเบียนสมรสที่ประเทศออสเตรเลีย
และลงทุนทำไร่องุ่น ต่อมาจำเลยย้ายกลับมาอยู่ในประเทศไทย
แต่ยังไม่ได้หย่าขาดกับโจทก์ร่วม
เงินค่าชดเชยที่รัฐบาลออสเตรเลียจ่ายให้แก่โจทก์ร่วมและจำเลยกรณีเลิกทำไร่องุ่น
เป็นเงินที่ได้มาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2554
ผู้ร้องซื้อรถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย
โดยผู้ร้องรวบรวมเงินมาซื้อโดยได้นำเงินบางส่วนที่ผู้ร้องเก็บสะสมมาตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลย
และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้จากสหกรณ์ออมทรัพย์โดยเงินกู้ที่ได้มาเป็นเงินที่ผู้ร้องได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับจำเลย
ย่อมถือเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2551 จำเลยเลยซื้อที่ดินและรถยนต์ในระหว่างสมรส ที่ดินและรถยนต์จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) แม้เงินที่ใช้ในการผ่อนหนี้ค่าซื้อที่ดินเป็นเงินที่จำเลยกู้มาจากธนาคาร
และเงินที่ใช้ในการผ่อนหนี้ค่าซื้อที่ดินเป็นเงินที่จำเลยกู้มาจากสหกรณ์ออมทรัพย์ 400,000 บาท ซึ่งจำเลยเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้ด้วยเงินเดือนของจำเลยทั้งสิ้นก็ตาม
แต่เงินเดือนของจำเลยดังกล่าวก็เป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรสนั่นเอง
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments