ทางแก้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน เมื่อถูกขีดชื่อออกจะทะเบียนและมีสถานะ “ร้าง”
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
ผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงอาจจะไม่เคยได้รับฟังเรื่องการขอคืนสภาพบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
ซึ่งเรียกกันตามภาษาชาวบ้าน แต่ผมเชื่อว่าหลายๆ
ท่านที่ประกอบธุรกิจคงจะได้พบเจอกับปัญหาเหล่านี้ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะทางเศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบัน
คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเศรษฐกิจในประเทศไทยไม่ดีเลย
ทำให้บริษัทเล็กใหญ่หรือแม้กระทั่งห้างหุ้นส่วนต้องพบประสบเจอปัญหาเรื่องงานบริหารงานของกิจการเหล่านั้น
บางก็ทำให้บริษัทปิดตัวลงทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั้นต้องปิดตัวลงหรือถูกขีดชื่ออกจากทะเบียน
ซึ่งวันนี้ทางบริษัททนายใกล้ตัวจะมาช่วยอธิบายและช่วยแก้ไขสิ่งเหล่านี้ให้กับพวกท่าน
วันนี้ผมจะขอนำเสนอการขอคืนสภาพห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน
เนื่องจากมิได้ทำการค้าหรือประกอบกิจการ
และไม่ได้นำส่งงบการเงินต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทในทุกๆปี ติดต่อกันเกิน 3 ปี จะกลายเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทร้าง
ผลคือสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่นายทะเบียนขีดชื่อออก ทำให้ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอีกต่อไป
เมื่อประสงค์กลับคืนสู่ทะเบียน
กรรมการหรือผู้ถือหุ้นจะต้องให้ทนายความจัดทำคำร้องยื่นต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียนบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน
มีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2553
ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติว่า
"ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว
ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี"
กับมาตรา 1250 บัญญัติว่า
"หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ
ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น"
บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้นิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลสมมุติจะเลิกได้นั้นจะต้องมีการชำระบัญชีเพื่อมีการชำระหนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้
และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของนิติบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี
จึงได้กำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ชัดแจ้ง
เพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และบังคับให้ผู้ชำระบัญชีต้องปฏิบัติอันจะส่งผลก่อเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีนิติสัมพันธ์กับนิติบุคคล
ยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังได้ตรา พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 ซึ่งมีโทษทางอาญากำกับไว้อีกด้วย โดยมาตรา 32 บัญญัติระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาทแก่ผู้ชำระบัญชีที่ไม่กระทำตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1253 ซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีจะต้องกระทำ
เช่น ต้องส่งคำบอกกล่าวว่านิติบุคคลนั้นได้เลิกกันแล้วเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายทุกๆ
คน บรรดามีชื่อปรากฏในสมุดบัญชีหรือเอกสารของห้างหรือบริษัทนั้น
ในการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ส่งคำบอกกล่าวการเลิกบริษัทแก่โจทก์เพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีและตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการชำระบัญชีโดยไม่สุจริต มีเจตนาฉ้อฉลต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้
จึงต้องถือว่าการชำระบัญชียังไม่สำเร็จลงตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคหนึ่ง
การที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนการชำระบัญชีไม่ว่าจะโดยสมรู้กับจำเลยที่ 2 หรือเป็นการหลงผิดก็ไม่ถือว่าการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดแล้ว แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามมาตรา 1249 อายุความสองปีตามมาตรา 1272 จึงยังไม่เริ่มนับ
คดีโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัตินี้
โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อจำเลยที่ 1 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) (มาตรา 1273/4 ตามที่แก้ไขใหม่)
ทั้งนี้เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องนายทะเบียนบริษัทมีมูลเหตุอันสมควรเชื่อว่าบริษัทใดมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว
บทบัญญัติในมาตรา 1246 (1) (มาตรา 1273/1 ตามที่แก้ไขใหม่) จึงต้องกำหนดให้นายทะเบียนมีจดหมายไต่ถามไปยังบริษัทนั้น
ซึ่งต่างกับเหตุในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแสดงเจตนาเลิกบริษัทเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2550
บริษัทซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง
ทำให้ผู้ร้องซึ่งได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้
จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้รู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทลูกหนี้ถูกขีดชื่อจากนายทะเบียน
แม้ผู้ร้องจะมีสิทธิยื่นฟ้องกรรมการของบริษัทดังกล่าวในฐานะผู้ชำระบัญชีให้ชำระหนี้ของบริษัทได้
เพราะผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป
กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 ก็ตาม
ก็หาเป็นการตัดสิทธิของเจ้าหนี้ของบริษัทที่รู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทลูกหนี้ถูกขีดชื่อจากทะเบียน
จะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้บริษัทดังกล่าวกลับจดชื่อคืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อดำเนินการเรียกร้องหนี้สินจากบริษัทโดยตรงไม่
หลักกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1273/4 ถ้าห้างหุ้นส่วน
ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด
ๆของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นรู้สึกว่าต้องเสียหายโดยไม่เป็นธรรมเพราะการที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
เมื่อห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลพิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่าในขณะที่ขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่
หรือเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้กลับคืนสู่ทะเบียนก็ดี
ศาลจะสั่งให้จดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ได้
และให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังคงอยู่ตลอดมาเสมือนมิได้มีการขีดชื่อออกเลย
โดยศาลจะสั่งและวางข้อกำหนดไว้เป็นประการใด ๆ
ตามที่เห็นเป็นการยุติธรรมด้วยก็ได้เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและบรรดาบุคคลอื่น
ๆ
กลับคืนสู่ฐานะอันใกล้ที่สุดกับฐานะเดิมเสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นมิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเลย
การร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน ห้ามมิให้ร้องขอเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments