สามีหรือภริยาทำหนังสือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม ถือเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีและภริยา

          เชื่อว่าคู่สามีภริยาหลายต่อหลายคน คงจะเคยให้ความยินยอมคู่สมรสอีกฝ่ายในการทำนิติกรรมต่างๆ เช่น กู้เงิน จำนอง ค้ำประกัน แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึงนั้น ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมซึ่งมีข้อความระบุในทำนองว่า สามีหรือภริยายินยอมให้สามีหรือภริยา ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ได้ หรือยินยอมให้ทำสัญญาค้ำประกันได้โดยไม่คัดค้าน ถือได้ว่าสามีหรือภริยาได้ร่วมรับรู้หนี้กู้ยืมเงินหรือหนี้ค้ำประกันที่ผู้เป็นสามีหรือภริยาได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและสามีหรือภริยาให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีกับภริยา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) สามีหรือภริยาจึงต้องร่วมกับสามีผู้กู้ รับผิดต่อเจ้าหนี้ ดังตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา ครับ

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14281/2558
          คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินของบริษัท น. ต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ว. เจ้าหนี้เดิม โดยจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของคู่สมรสที่ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4 ) ซึ่งต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 แต่จำเลยทั้งสี่ก็มิใช่ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์โดยตรง ความรับผิดของจำเลยทั้งสี่ต่อโจทก์เป็นเพียงลูกหนี้ร่วมตามบทบัญญัติของกฎหมายครอบครัวซึ่งมิใช่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในฐานะผู้ค้ำประกัน กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 มาใช้บังคับกับจำเลยทั้งสี่ได้ ส่วนการที่โจทก์นำคดีไปฟ้องคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ แม้จะมีผลทำให้อายุความในหนี้ที่คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ก็ตาม แต่อายุความที่สะดุดหยุดลงดังกล่าวย่อมเป็นโทษเฉพาะคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่มีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 295

          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
                   (1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
                   (2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
                   (3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
                   (4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: บง [IP: 49.229.22.xxx]
เมื่อ: 2020-07-10 15:07:42
หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วฝ่ายภรรยาเซ็นต์ยินยอมในหนังสือยินยอมให้สามีนำบ้านและที่ดินไปจำนองกับธนาคาร ภรรยาต้องชดใช้หรือไม่คะ
#2 โดย: Mike [IP: 171.100.123.xxx]
เมื่อ: 2020-12-26 21:39:06
ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนเลย อยากรู้เหมือนกัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 641,735