บุตรนอกสมรส และ บุตรบุญธรรม มีสิทธิรับมรดกของบิดา-มารดาหรือไม่ ?

     ตามหลักของพุทธศาสนา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นโดยอาศัย เหตุ และ ปัจจัย เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะมีบิดาและมารดา บุตรจึงมี ดังนั้น บุตรจึงมีบิดาและมารดาเป็นแดนเกิด

        แต่ในทางกฎหมายให้สันนิษฐานว่า“เด็กเกิดแต่หญิงในขณะเป็นภรรยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้ถือว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา เมื่อเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาแล้ว ก็จะเกิดสิทธิในการรับมรดก รวมไปถึงสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ในทางกฎหมายเรียกว่าผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในลำดับที่ 1 นั่นเอง แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงสิทธิในการรับมรดกของ บุตรนอกสมรส และ บุตรบุญธรรม ดังต่อไปนี้

        1.  บุตรนอกสมรส หมายความว่าบุตรซึ่งเกิดจากบิดามารดาที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่สิทธิที่บุตรนอกสมรสมีได้เหมือนกับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายคือมีสิทธิรับมรดกของมารดา (ป.พ.พ. มาตรา 1546) แต่บุตรนอกสมรสไม่สามารถรับมรดกขอบบิดาได้เว้นแต่บิดาจะได้รับรองโดยพฤตินัย หรือบิดาต้องรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน ดังนั้นวิธีทำให้บุตรนอกสมรสเปลี่ยนสถานะมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้นั้นมี 3 วิธีดังนี้ (ป.พ.พ. มาตรา 1547)

                1.1 บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง

                1.2 บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร

                1.3 บิดายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อ ให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา

        กรณีถือว่าบิดารับรองบุตรโดยพฤตินัยดังที่กล่าวมาข้างต้นคือ บิดาเชิดชูเด็กในครรภ์ของภริยาว่าเป็นบุตรของตน ยินยอมให้เด็กใช้นามสกุล ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดู ก็ทำให้บุตรมีสิทธิรับมรดกชองบิดาได้เช่นกัน แต่ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมายได้ เพราะกฎหมายยังไม่รับรองว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

        2.  บุตรบุญธรรม คือบุตรซึ่งมิใช่บุตรโดยแท้ของบิดามารดา ไม่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดโดยตรง กล่าวคือมิใช้บุตรโดยกำเนิดของบิดามารดานั่นเอง บุตรบุญธรรมไม่สามารถรับรองกันในทางพฤตินัยได้อย่างบุตรนอกสมรส กล่าวคือแม้ว่าบิดามารดา จะส่งเสียอุปการะเลี้ยงดู เชิดชู หรือยอมให้ใช้นามสกุล ก็ไม่ทำให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกได้ การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเสียก่อน บุตรบุญธรรมจึงจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิรับมรดกของบิดาหรือมารดาได้นั่นเอง

    คำพิพากษาฎีกาที่ 1231-1232-2510 บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม เพราะการรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย

         ดังนี้ จะเห็นได้ว่าบุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดารับรองแล้ว หรือ บุตรบุญธรรมซึ่งได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายแล้ว สิทธิในการรับมรดก ก็จะมีได้เท่าเทียมกันกับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และวิธีการก็เป็นวิธีที่ไม่มีความซับซ้อนมากมาย สามารถกระทำได้โดยง่าย ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ต่างๆที่เรามีนั้น เป็นความรับผิดชอบส่วนตนซึ่งควรรักษาไว้อย่าได้ขาด        

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: โป้ง [IP: 223.24.156.xxx]
เมื่อ: 2018-12-03 20:16:35
แล้วถ้าทางบิดาจะเซ็นรับรองบุตรต้องทำอย่างไรบ้างครับ ต้องใช้อะไรบ้างครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 638,187