ลูกหนี้ออกเช็คเพื่อ “ค้ำประกัน” แต่เจ้าหนี้ดันนำไปฟ้องเป็นคดีอาญา เจ้าหนี้ผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ !!

                ลูกหนี้ออกเช็คเพื่อ “ค้ำประกัน” แต่เจ้าหนี้ดันนำไปฟ้องเป็นคดีอาญา เจ้าหนี้ผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ !!

          วันนี้มาคุยเรื่องเช็คกันต่อครับ ซึ่งวันนี้จะพูดถึงประเด็นอื่นด้วย คุยกันแบบภาษาชาวบ้าน เข้าใจกันง่ายๆนะครับ ยาวหน่อยนะ แต่คุ้ม เชื่อเถอะ อ่านให้จบ ประเด็นที่จะพูดถึงก็ คือ การฟ้องเท็จ และเบิกความเท็จ ที่เกี่ยวพันกับการสั่งจ่ายเช็ค จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ผ่านมา คดีเช็คเป็นอีกคดีหนึ่งที่ขึ้นสู่ศาลเยอะมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะฟ้องเป็นคดีอาญา ถามว่าทำไมต้องฟ้องเป็นคดีอาญา ก็เพราะว่าตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 นั้น กำหนดโทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

          ท่านอาจจะเป็นคนหนึ่งที่ประสบปัญหานี้อยู่ก็ได้ กล่าวคือ เมื่อเดือดร้อนเงินทอง ธุรกิจขัดสน การเงินขาดสภาพคล้อง ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องไปกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาต่อลมหายใจหรือเพื่อใช้จ่ายหมุนเวียนในธุรกิจ โดยมีการทำสัญญากู้ยืมกันลงลายมือชื่อผู้กู้ถูกต้องตามกฎหมายสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ทุกประการ  แต่เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจร้องขอให้ท่านตีเช็คไว้ให้ หรือท่านอาจตีเช็คไว้ให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เพื่อความสบายใจว่าลูกหนี้จะไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย โดยท่านกับเจ้าหนี้ไม่ได้มีข้อตกลงไหนเลยที่บอกว่า การตีเช็คให้เจ้าหนี้ดังกล่าว ก็เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งเจ้าหนี้ก็รู้ดีว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คค้ำประกัน ประเด็นนี้ สำคัญมาก ตั้งใจอ่านให้ดี (โดยเฉพาะเจ้าหนี้)กรณีเช่นนี้ เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่ได้มีเจตนาออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ดังนั้น  เมื่อเจ้าหนี้นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน แต่ถูกธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน หรือเช็คเด้งนั้นเอง กรณีนี้ถือว่าไม่มีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 มีความผิดในทางแพ่งว่าด้วยเรื่องตั๋วเงินและกู้ยืมเท่านั้น

          ต่อมาหนี้เงินกู้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ลูกหนี้ใช้สูตรเดิมคือไม่มี ไม่จ่าย และไม่หนีไปไหน ประมาณว่า อยากได้ให้ไปฟ้องเอาว่างั้น !!! อารมณ์โมโหของเจ้าหนี้มาเต็มเลยคราวนี้ เจ้าหนี้รู้ดีว่าฟ้องคดีแพ่ง หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินก็ไม่สามารถบังคับคดีได้ จึงหัวใสจัดหนักฟ้องเป็นคดีอาญาเลยคราวนี้ ทำนองว่าหากฟ้องไปแล้ว ลูกหนี้กลัวติดคุก ก็จะต้องขวานขวายหาเงินมาจ่ายเป็นแน่แท้ จึงไม่ชักช้าอยู่ใย จัดไปตามระเบียบ ฟ้องคดีอาญาลูกหนี้ข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือขณะออกเช็คไม่มีเงินพอจะชำระหนี้ตามเช็ค ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 ตอนนี้ยังไม่เท่าไหร่ หากลูกหนี้กลัวติดคุก มาศาลรับสารภาพตกลงผ่อนชำระกันไป ศาลก็อาจจะจำหน่ายคดีชั่วคราว ผ่อนหมดก็ถอนฟ้องกันไป เป็นไปตามความคาดหมายของเจ้าหนี้ตั้งแต่ต้น จบลงแบบสวยหรู แต่หากตกลงกันไม่ได้ แล้วดันมาเจอลูกหนี้หัวใสดื้อแพ่ง มีทนายเก่งคอยให้คำแนะนำ ต่อสู้คดีจนชนะคดีเช็ค เอาละทีนี้ ความซวยเริ่มมาบังเกิดกับเจ้าหนี้แล้วคราวนี้ แทนที่จะจับลูกหนี้ติดคุก กลับกลายเป็นว่าลูกหนี้จับเจ้าหนี้ติดคุกแทน 555 ซวยยังไงหรอ มาดูกันทีละช็อตเลยครับ

          1. การที่ลูกหนี้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน XXX บาทให้แก่เจ้าหนี้นั้น เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินกู้ที่ลูกหนี้กู้ไปจากเจ้าหนี้จำนวน XXX บาท เมื่อเจ้าหนี้นำเช็คพิพาทฉบับดังกล่าวไปฟ้องกล่าวหาว่าลูกหนี้ออกเช็คให้แก่เจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้เงินกู้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 จึงเป็นการฟ้องคดีอาญาต่อศาลว่าลูกหนี้กระทำความผิด การกระทำของเจ้าหนี้จึงเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท

          2. เจ้าหนี้เบิกความในการพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้นยืนยันตามฟ้องว่าเช็คพิพาทตามที่เจ้าหนี้ฟ้องเป็นเช็คที่ลูกหนี้ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้เจ้าหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลูกหนี้ออกเช็คพิพาทให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อเจ้าหนี้คำเบิกความของเจ้าหนี้ย่อมเป็นความเท็จและเป็นข้อสาระสำคัญในคดี เพราะถ้าศาลชั้นต้นฟังว่าเช็คพิพาทลูกหนี้ออกให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ ศาลชั้นต้นก็อาจพิพากษาลงโทษจำคุกลูกหนี้ได้ ดังนั้น เจ้าหนี้ย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ และเมื่อได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา จึงต้องรับโทษหนักขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท

             กรณีเช่นนี้ ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุก สรุปความสั้นๆ คือ ศาลจำคุกโดยไม่รอลงอาญานั้นเอง และในเรื่องนี้ มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน คือ

 

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3963/2543

ป.อ. มาตรา 56, 175, 177

ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

        การที่โจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 500,000 บาทให้แก่จำเลยนั้น เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ไปจากจำเลยจำนวน120,000 บาทเมื่อจำเลยนำเช็คพิพาทฉบับดังกล่าวไปฟ้องกล่าวหาว่าโจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 จึงเป็นการฟ้องคดีอาญาต่อศาลว่าโจทก์กระทำความผิดการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ

         จำเลยเบิกความในการพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้นยืนยันตามฟ้องว่าเช็คพิพาทตามที่จำเลยฟ้องเป็นเช็คที่โจทก์ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้จำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่โจทก์มีอยู่ต่อจำเลย คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จและเป็นข้อสาระสำคัญในคดี เพราะถ้าศาลชั้นต้นฟังว่าเช็คพิพาทโจทก์ออกให้จำเลยเพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ ศาลชั้นต้นก็อาจพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ได้ ดังนั้น จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ

        การที่จำเลยฟ้องเท็จและเบิกความเท็จในคดีอาญา ถึงแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้อง แต่โจทก์ผู้ถูกฟ้องย่อมได้ความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย

             การที่โจทก์ออกเช็คพิพาทและเขียนหนังสือประกอบการออกเช็คให้จำเลยมิใช่เพื่อจำเลยนำมาฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ โจทก์จึงมิได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลย

การที่จำเลยนำความเท็จมาฟ้องโจทก์และเบิกความเท็จนั้น ก็โดยเจตนาให้โจทก์ต้องโทษทางอาญา หากศาลเชื่อว่าเป็นความจริงดังคำฟ้องและคำเบิกความของจำเลยแล้ว โจทก์อาจถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกได้ ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุก

           จำไว้เป็นบทเรียน และจำให้ขึ้นใจนะครับ  หากเกิดเหตุการณ์นี้กับท่าน และท่านรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นการออกเช็คค้ำประกัน อย่าริอาจแม้แต่จะคิดที่จะฟ้องเป็นคดีอาญา ท่านต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง ในข้อหาผิดสัญญาตั๋วเงินและกู้ยืม เท่านั้น >>> แล้วจะหาว่าทนายใกล้ตัวไม่เตือนนะครับ

           อนึ่ง บทความในเรื่องนี้ เป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่า เจ้าหนี้รู้ดีแก่ใจว่าเป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกัน แต่หากเจ้าหนี้ไม่รู้ หรือต้องมีการตีความกันในศาลว่าเป็นเช็คค้ำประกันหรือไม่ เจ้าหนี้ก็อาจไม่มีความผิดดังกล่าวข้างต้นก็เป็นได้ ซึ่งต้องพิจารณาขอเท็จจริงเป็นเรื่องๆไปนะครับ อย่าเหมารวมกัน ไม่มีดี๊ไม่ดีกับเจ้าหนี้เค้า !!

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: สมชาย [IP: 223.205.13.xxx]
เมื่อ: 2018-03-03 15:37:39
ให้เขียนต่อท้ายว่า เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน(น่าจะดี)
#2 โดย: สุวิทย์ [IP: 203.172.127.xxx, 103.246.37.xxx]
เมื่อ: 2019-08-16 13:59:20
ถ้าเขียนตามคอมเมนท์ที่ 1 ถือว่าโอเคเปล่าครับ
#3 โดย: radickjames7@gmail.com [IP: 197.210.227.xxx]
เมื่อ: 2022-11-09 18:10:51
--
สวัสดีคุณนายและมาดาม

เราเป็นโครงสร้างสินเชื่อส่วนบุคคล
เพื่อต่อสู้กับความยากจนและการกีดกันธนาคาร I
ข้อเสนอออนไลน์:

- สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์
- สินเชื่อส่วนบุคคล
- สินเชื่อการเงิน
- สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์

และทุกอย่างตั้งแต่ 200000 บาทถึง 50000000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับเงินกู้ทั้งหมด และเงื่อนไขของข้อเสนอเงินกู้นั้นง่ายมาก เงินกู้ที่ร้องขอจะได้รับภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากส่ง ข้อเสนอของฉันเป็นเรื่องจริงจัง คุณสามารถรับรู้ได้โดยขั้นตอนตามกฎหมายสำหรับการให้กู้ยืมเงินระหว่างบุคคล

ติดต่อบริษัทวันนี้และแจ้งให้เราทราบว่าคุณต้องการกู้เงินเท่าไหร่

ที่อยู่อีเมลของบริษัทคือ:
(radickjames7@gmail.com)
+2349169711537
#4 โดย: ต่อ [IP: 182.232.234.xxx]
เมื่อ: 2023-02-18 14:17:58
สนใจ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 641,739