7 ข้อแตกต่างระหว่างคดีแพ่งกับ คดีล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ
๗
ข้อแตกต่างระหว่างคดีแพ่งกับ คดีล้มละลายและฟื้นฟูกิจการมีอะไรกันบ้าง มาดูกันเลย
๑. คดีแพ่งฟ้องเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้เฉพาะตัวจึงยอมความได้
คดีล้มละลายฯ ฟ้องหรือร้องขอเพื่อประโยชน์เจ้าหนี้ทั้งหลาย
จึงยอมความเฉพาะกับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือผู้ร้องขอไม่ได้
๒. คดีแพ่งฟ้องเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ คดีล้มละลายฯ
ฟ้องหรือร้องขอได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ (มาตรา ๙ (๓), ๙๐/๓)
๓. คดีแพ่ง ยื่นฟ้องแล้วถอนฟ้องได้ (ป.วิ.พ.มาตรา ๑๗๕) คดีล้มละลาย
ฯ ยื่นฟ้องหรือยื่นคำร้องขอแล้วถอนฟ้องหรือถอนคำร้องขอไม่ได้ เว้นแต่ศาลอนุญาต
และหากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว
ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือคำร้องขอไม่ได้ (มาตรา ๑๑, ๙๐/๘ วรรคหนึ่ง)
๔. คดีแพ่งไม่กำหนดขั้นต่ำของจำนวนหนี้ที่ฟ้อง
คดีล้มละลายฯ กำหนดขั้นต่ำของจำนวนหนี้ที่ฟ้องหรือร้องขอ (มาตรา ๙ (๒), ๙๐/๓)
๕. คดีแพ่งหนี้ที่นำมาฟ้องไม่จำต้องกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว
เช่น หนี้มูลละเมิด คดีล้มละลาย ฯ หนี้ที่นำมาฟ้องหรือร้องขอต้องกำหนดคำนวณจำนวนได้โดยแน่นอนแล้วในขณะยื่นฟ้องหรือร้องขอ (มาตรา ๙ (๓), ๙๐/๓)
๖. คดีแพ่งต้องมีหมายเรียกบังคับให้จำเลยให้การ
มิฉะนั้นถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การ คดีล้มละลายฯ
กฎหมายไม่บังคับว่าลูกหนี้จำต้องยื่นคำให้การหรือคำคัดค้าน (มาตรา ๑๓, ๙๐/๙ วรรคสาม)
๗. คดีแพ่งดอกเบี้ยเรียกคำนวณได้จนถึงวันชำระเสร็จ
คดีล้มละลายฯ ดอกเบี้ยหลังวันพิทักษ์ทรัพย์ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
ส่วนการฟื้นฟูกิจการแม้ดอกเบี้ยหลังวันศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการขอรับชำระหนี้ได้
แต่อาจถูกตัดหรือลดจำนวนลงตามแผนได้ (มาตรา ๑๐๐, ๙๐/๔๒ (๓) (ข))
ปรึกษากฎหมายโทร
080-9193691
, 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ
คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments