การฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขในการให้งดเว้น ยกเลิก การกระทำใด ๆ อันเป็นการก่อให้เกิดภาระแก่สาธารณะสถาน มีโทษจำคุกและปรับตามกฎหมาย

การฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขในการให้งดเว้น ยกเลิก การกระทำใด ๆ อันเป็นการก่อให้เกิดภาระแก่สาธารณะสถาน มีโทษจำคุกและปรับตามกฎหมาย

 

        กรณีที่มีร้านค้าผู้ประกอบการมากมายหลายเจ้า ไม่ว่าจะประกอบกิจการที่ใด หาเป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือภาระ แก่ประโยชน์สาธารณะ หากมีประชาชนร้องเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าตรวจสอบ และพบว่าได้กระทำผิดจริงในเรื่อง ทำความสกปรก ทิ้งขยะหรือก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ และได้มีคำสั่งจากเจ้าพนักงานแล้ว ผู้ประกอบการกลับไม่งดเว้นหรือปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ผู้ประกอบการย่อมมีโทษตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นปรับหรือจำคุกหรือ ทั้งจำทั้งปรับ

 

       อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2551การประกอบกิจการรับซื้อขาย แลกเปลี่ยน สะสมวัตถุสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว เหลือใช้ จำพวกกระดาษ เหล็ก พลาสติก ขวดหรือสิ่งของเก่าอื่น ๆ อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ส่วนการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายกองวัสดุสิ่งของเก่า หรือให้ต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง แสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละกระทงความผิดกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91

 

         พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 80 บัญญัติว่า ผู้ดำเนินกิจการผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างที่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดดำเนินการหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 45 มาตรา 52 หรือมาตรา 65 วรรคสอง โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่จำเลยยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามฟ้องซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้จึงไม่เป็นการลงโทษปรับจำเลยซ้ำซ้อน

 

         ตามประราชบัญญัติสาธารณสุข มาตรา ๔๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำ เนินกิจการใดๆ ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ข้อกำหนดของท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการนั้น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าผู้ดำเนินกิจการไม่แก้ไข หรือถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการนั้นไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้

 

        คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการทันที และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้ดำเนินกิจการหรือผู้ดำเนินกิจการไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ดำเนินกิจการ และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่งแล้วแต่กรณี

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,645