ทำร้ายร่างกายมีเพียงบาดแผลถลอกหรือฟกช้ำ ไม่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายแต่เป็นความผิดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจเท่านั้น

หลายๆ ท่านอาจจะสับสนว่าการทำร้ายร่างกายที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 นั้นต้องเป็นการกระทำที่เป็นบาดแผลได้รับบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็น กระดูกหัก หัวแตก เย็บตามร่างกาย แต่หากเป็นเพียงทำให้เกิดรอยถลอกหรือฟกช้ำนิดหน่อย ย่อมเป็นความผิดลหุโทษตามมาตรา 391 เท่านั้น

ตัวอย่างคือ นาย ก กับ นาย ข ทะเลาะวิวาทกันจากการแย่งผู้หญิงได้มีการผลักกันล้มลงจนเกิดรอยถลอกและฟกช้ำตามร่างกาย เมื่อดูจากเจตนาย่อมมองได้ว่า นาย ก เพียงแค่ต้องการผลักนาย ข ให้ล้มลงเท่านั้นเมื่อบาดแผลมิได้เกิดความบาดเจ็บแก่ร่างกายถึงขนาด ย่อมเป็นเพียงบาดเจ็บเล็กน้องเท่านั้น นาย ก มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น นอกจาก นาย ข จะพิสูจน์ได้ว่าหาก นาย ข ล้มลงย่อมได้รับบาดเจ็บแก่กายมากกว่านี้

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8422/2558 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 80 และ 83 โดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อ (ค) ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ท่อนไม้และขวดขว้างใส่ผู้เสียหายทั้งสองโดยมีเจตนาทำร้าย จำเลยทั้งสองกับพวกลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลเนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองวิ่งหลบหนีได้ทัน ทำให้ท่อนไม้และขวดไม่ถูกร่างกายของผู้เสียหายทั้งสอง โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นข้อเท็จจริงว่าหากจำเลยทั้งสองขว้างปาท่อนไม้และขวดถูกผู้เสียหายทั้งสอง ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายทั้งสองได้อย่างแน่นอน อันเป็นองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวมาด้วย ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นขนาดของขวดและไม้มาพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ซึ่งหากขวดหรือท่อนไม้ขนาดไม่ใหญ่มากนักขว้างถูกผู้เสียหายทั้งสอง ไม่แน่นอนว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจได้หรือไม่ ฟ้องโจทก์ข้อ (ค) ดังกล่าวนี้ จึงต้องแปลว่าเป็นการบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองอาจไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายทั้งสอง ตาม ป.อ. มาตรา 391 ประกอบมาตรา 80 และ 83 เท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองในข้อนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 105


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,651