มีเพียงสิทธิครอบครองตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ จะอ้างการครอบครองปรปักษ์เพื่อให้ได้สิทธิ์ไม่ได้

การครอบครองปรปักษ์นั้นจะมีได้เพียงที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เป็นโฉนดแล้วเท่านั้น หากมีการครอบครองที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ที่มีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์(นส.3) มานาน 10 ปี ต่อมาได้ออกโฉนดที่ดิน ก็ไม่อาจนับเวลาที่ครอบครองที่ดินประเภท นส.3 ได้สิทธิ์ของการครอบครองปรปักษ์จะเริ่มนับต่อเมื่อที่ดินมีโฉนดแล้วเท่านั้น เพราะหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นั้นมีได้เพียงการแย่งสิทธิ์ครอบครองใช้ระยะเวลาเพียง 1 ก็สามารถแย่งการครอบครองจากเจ้าของเดิมได้แล้ว

แต่กรณีหากมีการเปลี่ยนจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นโฉนดที่ดินย่อมต้องนับตามกฎหมายว่าด้วยการครอบครองปรปักษ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกา 8700/2550 จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เมื่อ ช. ขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บิดาโจทก์ทั้งห้าก่อนจำเลยทั้งสองครอบครองครบกำหนดสิบปี จำเลยทั้งสองไม่อาจยกการครอบครองดังกล่าวขึ้นยันบิดาโจทก์ทั้งห้าได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสองจึงขาดตอนตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนแล้ว จำเลยทั้งสองจะต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ จะนำระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินของ ช. มานับรวมด้วยไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากบิดาโจทก์ทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์มายังไม่ครบสิบปี จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์

แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 จะเป็นผู้มอบอำนาจหลายคน แต่ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท จึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดไว้ 30 บาท ปรากฏว่าใบมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ติดอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์ที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,669