การมอบอำนาจให้บุคคลใดไปดำเนินการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจต้องระบุให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

กรณีที่มีการมอบอำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนต้องระบุให้ชัดเจนว่าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นชื่อ หากทราบบัตรประชาชนรวมถึงรูปถ่ายพร้อมพยานหลักฐานมอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินคดีต่อไป

แต่กรณีหากผู้กระทำความผิดได้ร่วมลงมือกันหลายคนและผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์แค่บางคน ตามกระบวนการทางกฎหมายพนักงานสอบสวนต้องสรุปสำนวนพร้อมความเห็นให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง แล้วนนำส่งให้เจ้าพนักงานอัยการ และเจ้าพนักงานอัยการดำเนินการฟ้องร้องตามข้อกล่าวหา

หากผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกไว้เพียงบางคนอำนาจในการฟ้องร้องของพนักงานอับการย่อมฟ้องร้องได้แต่เพียงบุคคลที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีเท่านั้น หากไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้แจ้งความเพิ่มต่อพักพวกของจำเลยทั้งหมด ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดี

อ้างถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 6632/2561 หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าโจทก์ร่วมขอมอบอำนาจให้ ส.ผู้รับมอบอำนาจทำการดังนี้ ข้อ 1 แจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองฉะเชิงเทราหรือพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนคดีอาญากับบริษัท ศ. (จำเลยที่ 1) ในเรื่องที่บริษัท ศ. ได้ทำการยักยอกเหล็กเส้นที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งผู้มอบอำนาจได้สั่งซื้อ.....” ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุชัดเจนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีข้อความใดที่ระบุให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 หรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ทั้งความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 นั้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากความเป็นบุคคลของจำเลยที่ 2 ที่มีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ประกอบ ความรับผิดในทางอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้กระทำความผิด กล่าวคือ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำผิดเป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เมื่อโจทก์ร่วมมีหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยได้ระบุให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น กรณีจึงไม่มีผลที่จะให้ถือได้ว่าโจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เพื่อให้รับผิดในฐานะที่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 120

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ

#1 โดย: คนเรียนมา [IP: 113.53.12.xxx]
เมื่อ: 2021-05-17 04:18:07
การมอบอำนาจดำเนินคดีอาญาไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้กระทำผิด นะครับ ฎีกาที่อ้างก็เป็นคนละกรณี เป็นกรณีที่หนังสือมอบระบุชื่อ แต่จะไปแจ้งเกินกว่าหนังสือมอบอำนาจ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,680