แม้ยินยอมให้พาไปเที่ยวกลับถูกล่วงละเมิดทางเพศย่อมผิดกฎหมายอาญาฐานพรากผู้เยาว์เพื่อพาไปทำอนาจาร

          เด็กสมัยนี้บางคนเข้าหาผู้ใหญ่เป็นรู้จักพูดรู้จักอ้อน ท่านที่มีบุตรหลายเป็นผู้หญิงหรือชายก็แล้วแต่ได้อนุญาตให้บุคคลอื่นพาไปเที่ยวได้ย่อมไม่เป็นการพรากผู้เยาว์ตามกฎหมาย แต่หากพาไปทำอนาจารย่อมขัดต่อเจตนาของผู้ปกครองที่อนุญาตไปนั้น เป็นความผิดต่อกฎหมายฐานพรากผู้เยาว์เพื่อไปกระทำอนาจาร

          ตัวอย่างเช่น นายน้อย อายุ 18 ปี กับเด็กหญิงยุ้ย อายุ 14 ปี รักชอบพอกันเลยตกลงคบหากันเป็นในวันลอยกระทงนายน้อยได้มาขอแม่ของเด็กหญิงนุ้ยที่บ้าน ว่าจะขอพาไปเที่ยวงานลอยกระทงและเวลา 4 ทุ่มจะนำมาส่งกลับบ้านก็ได้อนุญาตให้ไป ไม่เป็นการพรากผู้เยาว์ แต่ต่อมาเมื่อถึงเวลา 4 ทุ่มนายน้อยกลับยังไม่พาไปส่งที่บ้าน กลับพาเข้าโรงแรมเพื่อไปทำอนาจาร การกระทำของนายน้อยเป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อไปกระทำอนาจารมีความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 317

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12665/2556 ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 คำว่า "พราก" หมายความว่าจากไป พาเอาไปเสีย แยกออกจากกัน เอาออกจากกัน ดังนั้น ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม จึงหมายถึง การพาหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ 2 ทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารให้จำเลย หากรถยนต์โดยสารของจำเลยถึงจังหวัดตรังเวลาค่ำ จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 จะนอนค้างคืนที่ห้องเช่า อีกทั้งผู้ร้องเคยไปพักกับผู้เสียหายที่ 2 ที่ห้องเช่าดังกล่าวด้วย แสดงว่าผู้ร้องรู้เห็นยินยอมให้ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่ห้องเช่าจังหวัดตรังกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

การกระทำอนาจาร หมายถึง การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ เช่น กอดจูบ ลูบคลำ แตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควร การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลุกปล้ำ กอดจูบ ถอดเสื้อผ้า และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง และฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

          มาตรา 317    "ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท
          ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
          ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท"


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

 


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,598