เมื่อมีการกระทำความผิดอาญานอกจากศาลจะสั่งริบของกลางแล้ว ศาลยังมีอำนาจใช้ดุลพินิจเพื่อริบทรัพย์สินอื่นที่ใช้ประกอบการกระทำความผิด

เมื่อมีการกระทำความผิดอาญานอกจากศาลจะสั่งริบของกลางแล้ว ศาลยังมีอำนาจใช้ดุลพินิจเพื่อริบทรัพย์สินอื่นที่ใช้ประกอบการกระทำความผิด

          เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วครับ ว่าของกลางการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญานั้นต้องถูกริบแต่ของที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกที่นำมาช่วยเหลือนั้นจะถูกริบด้วยหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่หรือของศาลแล้วแต่จะเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ของความยุติธรรมในการสืบเสาะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นๆ

          ตัวอย่าง นายดู๋ นั้นมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับ นายด่าง มาตั้งหลายครั้งหลายครา ทั้งท้าทายกันในเฟสบุ้คหรือยั่วยวนต่อกันทุกครั้งที่มีโอกาส วันเกิดเหตุนายดู๋ได้ไปดักยิง นายด่างที่หน้าโรงงาน เมื่อนายด่างเลิกงานกำลังจะกลับบ้านได้ถูกนายดู๋ยิงเข้าที่เอวและต้นขาได้รับบาดเจ็บเข้าโรงพยาบาลและนายดู๋ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์หลบหนีไป

          ดังนั้นของกลางในคดีนี้คืออาวุธปืนที่ใช้ยิงทำร้ายนายด่าง แต่ทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่งคือรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลบหนี หลังจากที่ก่อเหตุแล้ว ซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานตำรวจอาจจะสั่งยึดไว้ก่อนเพื่อทำการตรวจสอบในการหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ย่อมได้ หรือหากหลักฐานมีเพียงพอแล้วก็สามารถที่จะปล่อยรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลบหนีคืนแก่เจ้าของก็ได้

             อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9725/2551 จำเลยประกอบการค้าโดยมีแถบบันทึกภาพลามกแสดงการร่วมประเวณีระหว่างชายหญิงเพื่อความประสงค์แห่งการค้าและโดยการค้า จำหน่าย ทำให้แพร่หลายด้วยการขายหรือให้เช่าแถบบันทึกภาพดังกล่าว เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดรถยนต์ที่ใช้บรรทุกแถบบันทึกภาพลามกเพื่อจำหน่าย และโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ติดต่อจำหน่ายแถบบันทึกภาพลามกอันเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามฟ้องว่ารถยนต์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางในการกระทำผิดอย่างไร หรือใช้เพื่อจำหน่ายแถบบันทึกภาพลามกแก่ใคร อย่างไรก็ตาม การที่จะริบรถยนต์ของกลางตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) หรือไม่นั้น อยู่ในดุลพินิจของศาล เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานทำให้แพร่หลายซึ่งแถบบันทึกภาพลามกเพื่อความประสงค์แห่งการค้าและโดยการค้า แม้จำเลยไม่มีหรือไม่ใช้รถยนต์ของกลางในการกระทำความผิด จำเลยก็สามารถกระทำความผิดนี้สำเร็จได้ ประกอบกับจำเลยใช้รถยนต์ของกลางบรรทุกแถบบันทึกภาพลามกเพียง 570 แผ่นเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาจึงเห็นว่าไม่ควรริบรถยนต์ของกลาง

             มาตรา 33  ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ (1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ (2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,668