พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อผู้เขียน(หรือผู้พิมพ์) พินัยกรรมตกเป็นโมฆะหรือไม่

พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อผู้เขียน(หรือผู้พิมพ์) พินัยกรรมตกเป็นโมฆะหรือไม่

 

          คำถาม : พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อ “ผู้เขียน” หรือ “ผู้พิมพ์” พินัยกรรมตกเป็นโมฆะหรือไม่

 

คำตอบ : พินัยกรรมแบบธรรมดา ซึ่งได้ทำตามแบบที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 กำหนดไว้แล้วว่าการที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ทำพินัยกรรม เป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ข้อความในพินัยกรรมนั้น แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในพินัยกรรม ก็ไม่เป็นโมฆะ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ผู้พิมพ์ต้องลงลายมือชื่อ

 

          คำพิพากษาฎีกาที่ 3675/2547

          พินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่ามีกรณีใดบ้างที่เป็นโมฆะ แต่มิได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อผู้เขียน (หรือผู้พิมพ์) ในกรณีที่ผู้เขียนมิใช่ผู้ทำพินัยกรรม กล่าวคือทำไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 ตกเป็นโมฆะ

ฉะนั้นเมื่อขณะทำพินัยกรรมในคดีนี้มีพยานในพินัยกรรมทั้งสี่คนอยู่พร้อมกันและผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คน พินัยกรรมดังกล่าวจึงถูกต้องตามแบบที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 กำหนดไว้ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

 

          มาตรา 1656  พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น

          การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้

 

          มาตรา 1671  เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน

          ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานอื่น ๆ

         

มาตรา 1705  พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652, 1653, 1656, 1657, 1658, 1660, 1661 หรือ 1663 ย่อมเป็นโมฆะ


          ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,607