เงินบำเหน็จตกทอดหรือเงินชดเชยจากประกันชีวิตไม่เป็นมรดกของผู้ตาย


       บางกรณีเป็นที่สงสัยว่าหากผู้ตายมีหนี้อยู่มากและได้ทำประกันชีวิตมีสิทธิได้รับเงินตามกรมธรรม์นั้น เจ้าหนี้สามารถเรียกเงินจากเงินประกันชีวิตหรือหากเป็นข้าราชการสามารถหักเงินจำบำเหน็จได้หรอไม่ แล้วทายาทจะมีเงินเหลือจากส่วนนี้ไหม

          คำว่าหนี้จากกองมรดกนั้น ต้องเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิตหรือได้มาก่อนเสียชีวิตจึงจะเป็นทรัพย์มรดก แต่ทรัพย์สินอื่นใดที่มีหรือเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้เสียชีวิตได้สิ้นสภาพบุคคลไปแล้วนั้นย่อมตกแกทายาทโดยธรรมตามลำดับ แต่ไม่ถือว่าทรัพย์สินส่วนนี้เป็นกองมรดกที่เจ้าหนี้สามารถเรียกเอาได้นั้นเอง

มาตรา 1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2554 ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิต โดยระบุภริยาเป็นผู้รับประโยชน์ ปรากฏว่าภริยาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย บริษัทประกันชีวิตสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินระบุชื่อภริยาผู้ตายเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ เงินตามสัญญาประกันชีวิตมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย ส่วนภริยาผู้ตายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิต สิทธิของภริยาผู้ตายที่จะได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่เกิดขึ้น เงินตามตั๋วแลกเงินจึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของภริยาผู้ตาย

          แม้เงินตามตั๋วแลกเงินจะมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่เงินตามสัญญาประกันชีวิต เงินตามตั๋วแลกเงินจึงควรตกแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2525 เงินบำเหน็จที่จะตกได้แก่บรรดาทายาทผู้มีสิทธิของผู้ตาย ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ.2494 นั้น มิใช่มรดกของผู้ตาย

          การที่จำเลยแจ้งให้กรมการเงินกระทรวงกลาโหมหักเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายเพื่อใช้หนี้จำเลยนั้น เป็นการมอบหมายให้เป็นตัวแทนในการเจรจาตกลงกับทายาทผู้ตาย

          การที่มารดาโจทก์ไปตกลงให้หักเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายที่จะได้แก่โจทก์บางส่วนชำระหนี้แก่จำเลยนั้น เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งที่ได้กระทำไปแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ และเป็นผลให้โจทก์ต้องชำระหนี้เมื่อมารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(13) ข้อตกลงดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะจำเลยไม่มีมูลที่จะอ้างเพื่อการชำระหนี้จากโจทก์ได้  

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,671