ที่ดินอันเป็นกรรมสิทธ์รวมไม่อาจแยกขายได้ต้องรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์กันก่อนจึงขายได้


ที่ดินอันเป็นกรรมสิทธ์รวมไม่อาจแยกขายได้ต้องรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์กันก่อนจึงขายได้

          หลายๆ ท่านมีทรัพย์มรดกตกทอดมายังทายาท แต่ยังไม่ได้ทำการแบ่งแยกกลับใส่ชื่อรวมกันไปก่อนหลายๆ คน แต่หากจะทำการขายที่ดินดังกล่าวในส่วนของตนนั้นไม่อาจขายได้ ต้องทำการแบ่งแยกให้ชัดเจนกันก่อนจึงจะทำการขายได้

          ตัวอย่าง นางสมศรี(ได้เสียชีวิตไปแล้ว)มีลูกทั้งหมด 5 คน มีที่ดินมรดกอยู่ 1 โฉนด พื้นที่ทั้งหมด 10 ไร่ ในขณะนั้นได้ใส่ชื่อทุกคนไว้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินดังกล่าว ต่อมานายสมยศ ลูกชายคนโตต้องการจะขายที่ดินในส่วนของตนเองต่อบุคคลภายนอก แต่เจ้าหน้าที่ไม่อาจทำให้ได้จึงต้องทำการร้องขอแบ่งทรัพย์สินตามส่วนของตนตามที่ดินดังกล่าวต่อศาลเสียก่อน เพราะไม่อาจทราบได้ว่าที่ดินนั้น ของใครอยู่ส่วนไหนบ้าง  

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2558 คำพิพากษาของศาลที่ให้จำเลยทั้งห้าแบ่งทรัพย์มรดกของ น. แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทด้วยกัน เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและเจ้าของรวมทุกคนพึงแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวมด้วยกัน หรือขายทรัพย์สินนั้นแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อยังไม่มีการดำเนินการดังกล่าว ลำพังเพียงโจทก์เจรจากับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนหนึ่งโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้รับมอบหมายจากทายาทอื่นให้เป็นตัวแทนเจรจากับโจทก์ จึงรับฟังไม่ได้ว่าเจ้าของรวมไม่อาจตกลงแบ่งทรัพย์สินกันได้ อันเป็นเหตุยึดทรัพย์มรดกมาขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อถือไม่ได้ว่าการบังคับตามคำพิพากษาของโจทก์เป็นไปตามลำดับขั้นตอนการแบ่งทรัพย์สิน จึงต้องเพิกถอนการยึดทรัพย์มรดกเสีย

 

          มาตรา ๑๓๕๖ ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

          มาตรา ๑๓๕๗ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน

          มาตรา ๑๓๕๘ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกัน

ในเรื่องจัดการตามธรรมดา ท่านว่าพึงตกลงโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวมแต่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ อาจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางจัดการตามธรรมดาได้ เว้นแต่ฝ่ายข้างมากได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น แต่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ อาจทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินได้เสมอ

ในเรื่องจัดการอันเป็นสาระสำคัญ ท่านว่าต้องตกลงกันโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม และคะแนนข้างมากนั้นต้องมีส่วนไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแห่งค่าทรัพย์สิน

การเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์นั้น ท่านว่าจะตกลงกันได้ก็แต่เมื่อเจ้าของรวมเห็นชอบทุกคน


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


 


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,674