กู้อีกอย่าง แต่เขียนสัญญาอีกอย่าง จะฟ้องบังคับได้เพียงใด

กรณีกู้ยืมเงินจำนวนหนึ่ง แต่ทำสัญญากู้ยืมเงินไว้อีกจำนวนหนึ่งนั้น ปกติแล้วสามารถแยกได้เป็น 2 กรณี

1. ทำสัญญากู้และรับเงินกันไปถูกต้องแล้ว แต่ภายหลังโจทก์แก้ไขข้อความในสัญญากู้

กรณีเช่นนี้ ถือว่าได้มีการทำสัญญาขึ้นแล้ว สัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์เฉพาะในส่วนของที่ผู้ให้กู้ได้รับเงินไป แต่สำหรับส่วนที่ถูกกรอกข้อความเพิ่มเติม เช่น เติมเลขข้างหน้า หรือเติม 0 ข้างหลัง นั้น ก็เป็นสัญญากู้ที่ไม่สมบูรณ์ โจทก์สามารถนำมาฟ้องคดีได้เท่ายอดที่สมบูรณ์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2552

โจทก์มีหนังสือสัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิดแม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นเป็น 120,000 บาท ซึ่งไม่เป็นไปตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน แต่ก็ไม่ทำให้หลักฐานกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไป จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่าที่กู้ไปจริง

2. กรณีโดนบังคับให้กรอกข้อความไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงตั้งแต่แรก

กรณีดังกล่าว ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่อาจนำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินมาใช้ฟ้องคดีได้เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13707/2558

จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เพียง 10,000 บาท และจำเลยมีตัวจำเลยและนายชยกร เบิกความสอดคล้องกันว่า โจทก์บังคับให้จำเลยทำสัญญาว่าจะกู้ยืมเงินโจทก์ไป 100,000 บาท หากไม่ยอมทำสัญญา จะแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยในข้อหาฉ้อโกง การที่โจทก์บังคับให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท ทั้งที่ความจริงกู้ยืมเงินกันเพียง 10,000 บาท เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจแสวงหาผลประโยชน์จากสัญญากู้ที่ทำขึ้นโดยไม่สุจริต

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

 


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,677