กู้เงินอย่างไร ไม่ให้เสียเปรียบเจ้าหนี้ผู้ให้กู้

ทำสัญญากู้ยืมเงินอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบผู้ให้กู้

         

          เป็นเรื่องธรรมดาของโชคชะตาชีวิต คนเราย่อมเกิดมาในสถานะและสังคมที่แตกต่างกัน มีทั้งคนจนคนรวยปะปนกันไป และเงินถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งไม่แพ้ปัจจัย 4 ในการดำรงชีพ ในการประกอบธุรกิจ หรือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เพราะความไม่มี เพราะความอยากได้อยากมี หรือเพราะความเดือนร้อนของคนที่อยากมี หลายคนชักหน้าไม่ถึงหลัง บางคนได้เงินเดือนไม่พอกับรายจ่ายประจำเดือน อำนาจของเงินจึงมีพลังอย่างยิ่งที่จะนำพาบุคคลเหล่านี้ไปสู่ผู้เป็นเจ้าของเงิน เมื่อไม่มีเงินก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน แล้วจะทำอย่างไรดี ในเมื่อมันจำเป็นจะต้องกู้เงินจริงๆ เราจะมีวิธีกู้เงินอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบเจ้าหนี้ ?

          กฎหมายที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 650-656  ผมขอสรุปสะระสำคัญไว้ 11ประเด็น พร้อมตัวอย่าง  ดังนี้

 
          1. หลักฐานการกู้ยืมเงิน

          ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้” ดังนั้น หากกู้ยืมเงินกันตั้งแต่ 2,001 บาท ต้องมีการทำหลักฐานแห่งการกู้กันไว้เป็นหนังสือซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบวิธีการเขียนไว้ และไม่ใช่แบบของนิติกรรม (ฏีกาที่ 3464/2528) เพียงแต่ต้องมีใจความครบถ้วนว่า กู้ยืมเมื่อใด ใครเป็นผู้กู้ ใครเป็นผู้ให้กู้ กู้เงินจำนวนเท่าไร ดอกเบี้ยเท่าไรต่อเดือนหรือต่อปี มีกำหนดใช้เงินคืนกันเมื่อไร และที่สำคัญต้องให้ผู้กู้ลงลายมือชื่อไว้ในหลักฐานแห่งการกู้นั้นด้วย ไม่เช่นนั้นก็ฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ไม่ได้ ส่วนหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่จำเป็นต้องมีในขณะกู้ยืมกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือในภายหลัง แต่ก่อนฟ้องคดีก็เป็นอันใช้ได้ (ฎีกาที่ 3464/2528)

          ตัวอย่างหลักฐานการกู้เงิน เช่น

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2499

          คำรับสภาพหนี้ในบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้ เป็นหลักฐานแสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 (เทียบฎีกาที่ 865/2493)

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2509

          บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยรับรองว่าได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไปจำนวนเท่านั้นเท่านี้จริงและจำเลยได้ลงชื่อไว้ท้ายบันทึกนั้นด้วย แม้จะเป็นเรื่องพนักงานสอบสวนเรียกไปไกล่เกลี่ยในทางอาญาก็ตามก็ใช้บันทึกนั้นเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2510

          จำเลยและภรรยาได้จดทะเบียนหย่ากันที่อำเภอ และได้ให้ถ้อยคำในบันทึกหลังทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนว่า ภรรยาจำเลยได้ยืมเงินจากโจทก์มายังไม่ได้คืน จำเลยและภรรยาได้ลงลายมือชื่อรับรองว่าบันทึกถูกต้องดังนี้บันทึกหลังทะเบียนหย่าถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 โจทก์นำหลักฐานนั้นมาฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมได้

          หลักฐานการกู้ยืม ไม่ใช่สัญญากู้ยืม แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากรก็รับฟังเป็นพยานได้ (อ้างฎีกาที่ 368/2506)

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2522

          จำเลยทำหนังสือให้โจทก์ไว้มีใจความว่า 'ข้าพเจ้านายศุภวัตรแก้วประดับได้ยืมเงินจากนายยีซบมูฮำหมัดจำนวน 130,000 บาท และจะชำระคืนให้ตามเช็คธนาคารชาร์เตอร์เลขที่ 917820 ซึ่งได้ให้ไว้เป็นการค้ำประกัน แล้วลงลายมือชื่อไว้ ดังนี้ หนังสือนั้นเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามกฎหมายแล้ว


          2. สัญญากู้ยืมจะบริบูรณ์เมื่อใด

          เรื่องนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 650 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญาว่า ย่อมบริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินหรือเงินที่ยืม จะเห็นได้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าต้องมีการส่งมอบเงิน หากไม่ส่งมอบสัญญาก็ไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ โมฆียะ หรือเสียเปล่าแต่อย่างใด

 

          3.การลงลายมือชื่อและการพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ

          หากผู้กู้ลงลายมือชื่อไว้ไม่ได้ ก็สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ แต่ต้องมีพยาน รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ 2 คน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรคสอง เช่นเขียนว่า ข้าพเจ้านาย เอ และนาย บี ขอรับรองว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของนาย ก. ผู้กู้ แล้วให้นาย เอ และนาย บี ลงลายมือชื่อไว้ด้วย เช่นถือก็ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว

          การให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อในเอกสารการกู้เงินแทน โดยลงชื่อของผู้กู้นั้น การกู้เงินไม่ผูกพันผู้กู้ และหาใช้กรณีเชิดให้ผู้ลงลายมือชื่อแทนเป็นตัวแทนการกู้เงินไม่ (ฎีกาที่ 696/2522)

 

          4. การลงลายมือชื่อ กรณีทำธุรกรรมทางอินเล็กทรอนิกส์

                ในกรณีที่มีการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการดำเนินการต่างๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ กรณีก็ถือว่ามีการลงลายมือชื่อและมีหลักฐานการกู้ยืมเงินแล้ว เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 วินิจฉัยว่า การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7, 8 และมาตรา 9

          5. หลักฐานแห่งการกู้ยืมที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข

          หากการแก้ไขหลักฐานการกู้ยืมในระหว่างที่ยังทำเอกสารหลักฐานนั้นไม่เสร็จตามความประสงค์ของคู่กรณีแม้ไม่ลงชื่อกำกับไว้ก็เป็นหลักฐานการกู้ยืมที่สมบูรณ์ เช่น ขณะเขียนสัญญากู้ยืมเงินมีการเขียนหรือกรอกตัวเลขผิดไม่เป็นไปตามความประสงค์ของคู่สัญญา และมีการขีดฆ่าแก้ไขในขณะนั้นก็ใช้ได้ แต่ข้อนี้ควรระมัดระวัง เพราะเมื่อไม่มีพยานหลักฐานมั่นคง หรือจับได้ไม่มั่นคั้นไม่ตาย ก็จะมีการกล่าวอ้างว่าเป็นการปลอมแปลงสัญญากู้ยืมเงิน ต้องพิสูจน์กันยาว และอาจกลายเป็นคดีอาญาตามมาอีก ทางที่ดีก็ให้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ก็สิ้นเรื่องและควรมีพยานรู้เห็นในการทำสัญญากู้เงินกันด้วย และก็อย่าลืมทำสัญญาไว้เป็น 2 ฉบับต่างฝ่ายๆเก็บไว้คนละฉบับ เพราะหากกรณีมีการแก้ไขเปลี่ยนแลงสัญญาขึ้นมา จะได้มีหลักฐานอ้างอิงกันได้

          6. การแก้ไขหลักฐานการกู้ยืมเงินที่สมบูรณ์แล้ว

          หากภายหลังที่ได้ทำหลักฐานการกู้ยืมเงินเสร็จสิ้นไปแล้ว ต่อมามีการกู้เงินเพิ่มเติม โดยไม่ได้ทำหลักฐานการกู้ยืมขึ้นมาใหม่ แต่ได้ไปขีดฆ่าเฉพาะจำนวนเงินในสัญญากู้เงินเดิม แล้วเขียนจำนวนเงินเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่กู้ไปทั้งสองครั้งรวมกัน โดยผู้กู้มิได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ ถือว่าการกู้ยืมเงินเฉพาะครั้งแรกเท่านั้นที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ ส่วนการกู้ยืมครั้งหลังไม่มีหลักฐาน ส่งผลให้ผู้กู้รับผิดเฉพาะการกู้ยืมเงินครั้งแรกเท่านั้น ดังนั้น กู้เงินกันแต่ละครั้ง ก็ควรเขียนสัญญากันใหม่ทุกครั้ง

 

          7. กรอกจำนวนเงินกู้ในช่องว่างไม่ตรงกับจำนวนกู้ยืมกันจริง ผลเป็นอย่างไร ?

          ในเรื่องนี้พบเห็นกันบ่อยครั้ง เวลาผู้กู้จะไปขอกู้เงินนายทุนหรือผู้ให้กู้ ผู้ให้กู้มักจะให้ผู้กู้ลงลายมือชื่อเอาไว้ในตอนท้ายของสัญญา โดยไม่ได้มีการกรอกข้อความเกี่ยวกับจำนวนเงินและข้อความอื่นในสัญญา ต่อมาวันดีขึ้นดีเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ทำหัวใส กรอกจำนวนกู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น กู้ยืมกันจริง 20,000 บาท แต่เวลาจะฟ้องคดีกรอกจำนวนตัวเลขที่กู้ยืมกันจำนวน 200,000 บาท โดยผู้ให้กู้ไม่รู้เห็นยินยอม เช่นนี้ สัญญากู้ดังกล่าวถือเป็นเอกสารปลอม และถือได้ว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 ทั้งนี้ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 2692/2526, 1532/2526, ฎีกาที่ 4693/2528

          ในข้อนี้ต้องระวังให้ดี ลูกหนี้ผู้กู้จะได้เปรียบเจ้าหนี้ก็ตรงนี้แหละครับ และผู้ให้กู้มีภาระพิสูจน์หรือทำหน้าที่นำสืบ เพราะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายกล่าวอ้างนำคดีมาสู่ศาล ย่อมเป็นการยืนยันอยู่ในตัวมาสัญญากู้ของตนเองถูกต้องสมบูรณ์ เมื่อผู้กู้ต่อสู้ว่าสัญญากู้ปลอม ผู้ให้กู้ก็ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ (ฎีกาที่ 244/2497)

          อย่างไรก็ดีมีบางกรณีหรือบางคดีที่ผู้กู้มีภาระพิสูจน์ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงแต่ละคดีเป็นเรื่องๆไป

 

          8. การนำสืบว่ามีการใช้หนี้เงินกู้แล้วจะทำอย่างไร?

          เรื่องนี้สำคัญและพบมาก คือ เมื่อผู้กู้ชำระหนี้เงินกู้ครบแล้ว แต่ไม่ได้ขอสัญญากู้คืนมาจากผู้ให้กู้ ต่อมาเมื่อถูกฟ้องร้องก็อ้างว่าชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว กรณีนี้ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดเจน กล่าวคือ “ในการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว” ดังนั้น ถ้าไม่มีการบันทึกไว้ในสัญญากู้หรือทำบันทึกไว้ต่างหากว่าผู้กู้ชำระหนี้เงินกู้ ฉบับลงวันที่ใด ไว้จำนวนเท่าใด และได้ลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ไว้ หรือสัญญากู้นั้นกลับคืนมาอยู่ในมือผู้กู้เพราะได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือมีการขีดฆ่าเพิกถอนไว้ในสัญญากู้ฉบับนั้นแล้ว ก็จะนำมาอ้างว่าได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ให้กู้ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม กรณีนี้เป็นการห้ามนำสืบเฉพาะการใช้เงินชำระหนี้ที่มีการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือเท่านั้น แต่ไม่ได้ห้ามการนำสืบกรณีใช้ทรัพย์สินอย่างอื่นชำระหนี้แทนเงิน หมายความว่า ถ้าจะอ้างว่าหนี้ตามสัญญาเงินกู้นั้นมีการชำระแล้วโดยการชำระหนี้ด้วยแก้ว แหวน ทอง ข้าวสาร ก็สามารถนำสืบหักล้างว่ามีการชำระหนี้แล้วได้ ซึ่งก็คงต้องมีพยานบุคคล พยานหลักฐานอื่น มาประกอบให้เห็นชัดเจนด้วย


          9. คิดดอกเบี้ยเงินกู้เกินร้อยละ 15 ต่อปีได้หรือไม่

          ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี (ร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน) ถ้าในสัญญากำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเหลือร้อยละ 15 ต่อปี แต่ถ้าผู้กู้ได้ชำระดอกเบี้ยที่เกินอัตราให้แก่ผู้ให้กู้ไปแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจก็จะเรียกดอกเบี้ยที่เกินอัตรานั้นคืนไม่ได้ นอกจากนี้ ในกรณีผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ยังเป็นการขัดต่อกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มีผลให้ดอกเบี้ยต้องตกเป็นโมฆะทั้งหมด และผู้ให้กู้อาจถูกดำเนินคดีอาญาได้ด้วย สำหรับในกรณีที่ถ้าในสัญญากู้ยืมเงินหรือหลักฐานกู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะคิดดอกเบี้ยกันในอัตราเท่าใด เมื่อมีการฟ้องร้องกัน ผู้ให้กู้ก็จะคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัดสูงสุดตามกฎหมายเท่านั้น


          10. ผู้กู้ชำระหนี้เงินกู้คืนด้วยสิ่งของอย่างอื่นที่มิใช่เกินได้หรือไม่

          ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนการชำระเงินที่กู้ยืมก็ได้ โดยให้คิดเป็นหนี้ค้างชำระเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบ เช่น การเอาแหวนเพชรใช้แทนเงินกู้ ก็ต้องคิดราคาแหวนเพชรตามราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ที่มีการส่งมอบแหวนเพชรชำระหนี้แทนเงินกู้ เพื่อให้รู้ว่ามีการชำระหนี้ไปแล้วเท่าใด ครบถ้วนหรือไม่ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคสอง

 

          11. กู้ยืมเงินโดยรับสิ่งของแทนเงินกู้ได้หรือไม่

          ในเรื่องนี้ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคแรกได้ กำหนดว่า ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกันและผู้กู้ยืมสินอย่างอื่นแทนจำนวนเงิน ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์ให้คิดเป็นหนี้ค้างชำระเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบ
    

          กรณีดังกล่าวข้างต้น เป็นเรื่องการกู้ยืมเงินที่เป็นปกติระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้ แต่ในสังคมปัจจุบัน การกู้เงินนอกระบบ เข้ามามีบทบาทกับสังคมมาก มีการทำสัญญาเอารัดเอาเปรียบผู้กู้ไว้ในทุกด้าน และขัดต่อกฎหมายดังที่กล่าวมาข้างต้น และผู้กู้มักอยู่ในสภาพจำยอมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เนื่องจากมีความต้องการใช้เงินด่วน ซึ่งหากไม่มีวินัยในการออม ก็ต้องยอมให้เขาเอาเปรียบอยู่ต่อไปนั่นเอง

 

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


5d7Cr3mZUt

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน
#1 โดย: radickjames7@gmail.com [IP: 197.210.227.xxx]
เมื่อ: 2022-11-09 18:09:44
--
สวัสดีคุณนายและมาดาม

เราเป็นโครงสร้างสินเชื่อส่วนบุคคล
เพื่อต่อสู้กับความยากจนและการกีดกันธนาคาร I
ข้อเสนอออนไลน์:

- สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์
- สินเชื่อส่วนบุคคล
- สินเชื่อการเงิน
- สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์

และทุกอย่างตั้งแต่ 200000 บาทถึง 50000000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับเงินกู้ทั้งหมด และเงื่อนไขของข้อเสนอเงินกู้นั้นง่ายมาก เงินกู้ที่ร้องขอจะได้รับภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากส่ง ข้อเสนอของฉันเป็นเรื่องจริงจัง คุณสามารถรับรู้ได้โดยขั้นตอนตามกฎหมายสำหรับการให้กู้ยืมเงินระหว่างบุคคล

ติดต่อบริษัทวันนี้และแจ้งให้เราทราบว่าคุณต้องการกู้เงินเท่าไหร่

ที่อยู่อีเมลของบริษัทคือ:
(radickjames7@gmail.com)
+2349169711537

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,617