ทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย

ทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
        การทวงหนี้ ไม่ได้หมายถึงการทวงหนี้ระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนี้อื่นๆ เช่น หนี้ธนาคาร หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนชำระรถยนต์ เงินกู้ ฯลฯ แม้กระทั่งการพนันก็ถือว่าเป็นหนี้รูปแบบหนึ่ง บ่อยครั้งที่เรามักเห็นข่าวการทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงและไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราต้องการจะทวงหนี้ผู้อื่น และผู้อื่นจะมาทวงหนี้เรา จริงๆ แล้วจำเป็นต้องดำเนินไปตามหลักของกฎหมายทวงหนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย โดยมีรายละเอียดต่างๆ ที่ควรรู้ไว้ ดังนี้

ความหมายของ "ลูกหนี้" และ "ผู้ทวงถามหนี้"
ลูกหนี้ คือ ลูกหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
ผู้ทวงถามหนี้ คือ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 8 ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่บุคคล ซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการดังกล่าว
การติดต่อกับบุคคลอื่นนอกจากบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบถาม หรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้เท่านั้น โดยผู้ทวงถามหนี้ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้

(2) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อ ให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จําเป็นและตามความเหมาะสม

(3) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย ในหนังสือ หรือในสื่ออื่นใดที่ใช้ในการติดต่อสอบถาม ซึ่งทําให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ ของลูกหนี้

(4) ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทําให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้
มาตรา 9 การทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) สถานที่ติดต่อ ในกรณีที่ติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าว ไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าหรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้ โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อ ตามสมควรแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลําเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทํางานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่น ตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

(2) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา และในวันหยุดราชการ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา หากไม่สามารถติดต่อตามเวลา ดังกล่าวได้หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

(3) จํานวนครั้งที่ติดต่อ ในช่วงเวลาตาม (๒) ให้ติดต่อตามจํานวนครั้งที่เหมาะสมและคณะกรรมการ อาจประกาศกําหนดจํานวนครั้งด้วยก็ได้
(4) ในกรณีที่เป็นผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบ ธุรกิจทวงถามหนี้ หรือผู้รับมอบอํานาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้แจ้งให้ ทราบถึงชื่อตัวและชื่อสกุล หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ และจํานวนหนี้ และถ้าผู้รับมอบอํานาจ ดังกล่าวทวงถามหนี้ต่อหน้า ให้แสดงหลักฐานการมอบอํานาจให้ทวงถามหนี้ด้วย

1.1 โทรศัพท์ไปทวงหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย ถือเป็นการทวงหนี้แล้วหรือยัง?
หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย หรือกดวางสายก่อนจะมีการพูดคุย ไม่นับเป็นการทวงหนี้
หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ ลูกหนี้รับสาย แต่พูดคุยเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องการทวงหนี้ ไม่นับเป็นการทวงหนี้
หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท แต่ลูกหนี้ยังไม่เปิดอ่าน ไม่นับเป็นการทวงหนี้
หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท ลูกหนี้เปิดอ่านข้อความ แต่ไม่ตอบ ถือเป็นการทวงหนี้แล้ว

1.2 ทวงหนี้ได้วันละกี่ครั้ง
กฎหมายทวงหนี้ใหม่กำหนดให้เจ้าหนี้ สามารถทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง หากฝ่าฝืนจะมีความผิด โดนโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ในกรณีที่เพื่อนยืมเงินเพื่อน ทวงเกินวันละ 1 ครั้ง ถือว่าไม่ผิด

1.3 เวลาทวงถามหนี้ ควรทวงหนี้เวลาไหน จึงจะไม่ผิดกฎหมาย
วันจันทร์-ศุกร์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์, วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00-18.00 น.
หากเจ้าหนี้ฝ่าฝืนเวลาทวงหนี้ มีโทษปรับ 100,000 บาท และต้องทวงหนี้กับลูกหนี้เท่านั้น ห้ามไปทวงกับคนอื่น มิฉะนั้นจะมีจำคุก 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

1.4 การทวงหนี้แบบใด ที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด
ห้ามพูดจาดูหมิ่น
ห้ามประจาน
ห้ามข่มขู่
ห้ามใช้ความรุนแรง
ห้ามทำร้ายร่างกาย
ห้ามทำลายทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เกิดความเสียหาย
ห้ามเปิดเผยเรื่องหนี้ของลูกหนี้ ต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
ห้ามส่งเอกสารเปิดผนึกทางไปรษณีย์ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน

1.5 หากทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรมมีโทษอย่างไร
ถ้าทวงถามหนี้โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฝ่ายลูกหนี้สามารถไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และผู้ทวงถามหนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,589