การกระทำผิดวินัยในลักษณะที่ เป็นความผิดวินัยร้ายแรง

การกระทำผิดวินัยในลักษณะที่ เป็นความผิดวินัยร้ายแรง

 มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
2. ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
3. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
4. กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
5. ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
6. กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจําคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7. ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
8. ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสองและมาตรา 82(11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83(10) ที่มีกฎ ก.พ. กําหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
โทษทางวินัย
มาตรา 88 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดำเนินการทางวินัย

โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้ 
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก

การดำเนินการทางวินัยกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
1. หากมีการกล่าวคําหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ (มาตรา 90)
2. เมื่อได้รับรายงานตามข้อที่ 1. ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดำเนินการสืบสวนว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ (มาตรา 91)
3. หากผลการสืบสวนปรากฏว่าข้าราชการพลเรือนกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน โดยการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสได้แก้ข้อกล่าวหา
4. หากผลการสอบสวนของคณะกรรมการปรากฏว่าข้าราชการพลเรือนผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาส่งเรื่องให้ อ.ก.พ.เป็นผู้พิจารณาโทษ เมื่อ อ.ก.พ.มีมติเป็นประการใดก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
***5) ข้าราชการพลเรือนที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามมติของ อ.ก.พ. ตามข้อที่ 4.

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,☎️ 02-0749954 
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi 
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
www.closelawyer.co.th

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,147