การสูญเสียมรดกโดยอายุความ

การสูญเสียมรดกโดยอายุความ

 เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยทันที แต่ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกโดยอายุความ 

ซึ่งบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่ว่า “ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมรู้ หรือควรรู้ถึงความตาย ของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกําหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้ หรือควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนพินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่า 1 ปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย”

บทบัญญัติกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 ดังกล่าวสามารถแยกได้เป็น 3 กรณี

1. ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายมีกำหนด 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย

2. ผู้ฟ้องเรียกตามข้อกําหนดพินัยกรรม มีข้อกําหนด 1 ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมรู้ หรือควรรู้ได้รู้ถึงสิทธิ ซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย

3. เจ้าหนี้ของผู้ตาย มีข้อกําหนด 1 ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมรู้หรือควรรู้ได้รู้ความตายของเจ้ามรดก แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย

         กำหนดอายุความดังกล่าวเป็นกำหนดอายุความฟ้องร้องขอแบ่งมรดกในฐานะที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย หรือตามพินัยกรรม หรือเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้ที่ผู้ตายเป็นหนี้อยู่ ซึ่งจะต้องฟ้องในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 มิฉะนั้นถือได้ว่าคดีขาดอายุความ

        อนึ่ง ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายหรือตามข้อกําหนดพินัยกรรมนั้น หากเป็นกรณีที่ผู้นั้นครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่ง หรือทายาทคนอื่นครอบครองมรดกไว้แทน แล้วขอแบ่งทรัพย์มรดกที่มีการครอบครองดังกล่าวก็สามารถฟ้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1784 ไม่ใช่อยู่ในบังคับมาตรา 1754 ที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีหรือ 10 ปี เช่นเดียวกับการฟ้องเกี่ยวกับความรับผิดของผู้จัดการมรดก การรอนสิทธิ การขอเพิกถอนพินัยกรรม ซึ่งต้องใช้บังคับตามอายุความในเรื่องนั้น ๆ ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะต่างหาก

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 

หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi 

หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU

www.closelawyer.co.th


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,041