หากสิทธิเรียกร้องทางแพ่งขาดอายุความไปแล้ว เจ้าหนี้ไม่ยกประเด็นเรื่องขาดอายุความว่ากล่าวกันในศาล ศาลไม่อาจยกข้อเท็จจริงเรื่องอายุความขึ้นกล่าวเองได้ หากศาลสั่งไปตามนั้นถือเป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หากสิทธิเรียกร้องทางแพ่งขาดอายุความไปแล้ว เจ้าหนี้ไม่ยกประเด็นเรื่องขาดอายุความว่ากล่าวกันในศาล ศาลไม่อาจยกข้อเท็จจริงเรื่องอายุความขึ้นกล่าวเองได้ หากศาลสั่งไปตามนั้นถือเป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

 หลายท่านที่ได้ปรึกษาทนายความไปเกี่ยวกับเรื่องอายุความ พอได้รับคำตอบถึงการขาดอายุความฟ้องร้องดำเนินคดี แต่กลับไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพราะคิดว่าคดีขาดอายุความในชั้นศาลแล้วนั้น ย่อมทำให้เกิดความเสียหายเนื่องจากปัญหาเรื่องการฟ้องโดยขาดอายุความ ไม่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยอันดีของประชาชนซึ่งศาลยกขึ้นกล่าวอ้างเองไม่ได้ จำเลยจำต้องยกข้อต่อสู่ดังกล่าวเข้าสู่ศาล มิเช่นนั้นถือว่าขาดนัดพิจารณาและศาลจำต้องพิจารณาฝ่ายโจทก์ ไปเพียงฝ่ายเดียวจึงหมดสิทธินำข้อเท็จจริงเข้าสู้คดีได้  

        อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7147/2562 แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยเฉพาะความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับอันตรายสาหัส ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องทางแพ่งฐานมูลละเมิดเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ร่างกายโดยอาศัยมูลคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 และแม้คดีส่วนแพ่งของผู้ร้องจะขาดอายุความเนื่องจากไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 ภายในอายุความสิบปีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง ตามที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ก็บัญญัติว่า คำพิพากษาส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเอาอายุความมาเป็นเหตุยกคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่จำเลยสามารถหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาได้

        ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่
        (5) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,☎️ 02-0749954 
หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer
สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi 
หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU
www.closelawyer.co.th

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,521