ทำพินัยกรรมยกที่ดิน สปก.4-01 ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ไม่ใช่ทายาทของผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในขณะนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อกฎหมายพินัยกรรมข้อนั้นเป็นโมฆะ

ทำพินัยกรรมยกที่ดิน สปก.4-01 ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ไม่ใช่ทายาทของผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในขณะนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อกฎหมายพินัยกรรมข้อนั้นเป็นโมฆะ

 

        ที่ดิน สปก.4-01 นั้นกรรมสิทธิ์เป็นของรัฐจัดสรรปันส่วนให้แก่ผู้ที่มีเจตนาทำเกษตรกรรม เข้าครอบครองและทำประโยชน์เกี่ยวกับการเกษตรไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง และการตกทอดสิทธิการครอบครองนั้น ต้องเป็นไปตามระเบียบของทางสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยที่ผู้ครอบครองสามารถโอนไปยังทายาทหรืออีกนัยหนึ่งคือผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย แม้จะทำพินัยกรรมยกที่ดิน สปก.4-01 ให้แก่บุคคลใด แต่เจ้ามรดกก็หาใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์อันจะยกที่ดินที่ตนมีสิทธิครอบครองให้แก่บุคคลอื่น โดยขัดต่อระเบียบสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหาได้ไม่ หากกระทำโดยฝ่าฝืนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายการนั้นย่อมเป็นโมฆะ

 

        อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2558 จำเลยมีสัญชาติอิตาลี โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากัน และทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่า "ให้ที่ดินจำนวน 3 งาน พร้อมบ้านเลขที่ 245 หมู่ที่ 9 ตำบลหนองหว้า อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นทรัพย์สินของ ซ. (จำเลย) แต่เพียงผู้เดียว" เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐที่ได้มาโดยผลของกฎหมาย เพื่อให้รัฐนำที่ดินดังกล่าวนี้จัดสรรให้แก่เกษตรกรซึ่งมีคุณสมบัติตามกฎหมายที่มีสิทธิจะได้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) และเกษตรกรผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินนั้นจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิไปให้แก่บุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 39 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อกฎหมายดังกล่าว อันเป็น        กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะ จำเลยไม่อาจได้ไปซึ่งที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าว แม้โจทก์จะมิได้บรรยายมาในฟ้อง แต่เป็นข้อกฎหมายที่สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 247

        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ปรมาตรา 225  ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

 

 

        พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39  ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 ,02-0749954

หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi

หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU

www.closelawyer.co.th

 

 

 

 


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,533