กรณีเจ้าของที่ดินได้จดทะเบียนจำนองแก่ผู้รับจำนอง เจ้าของที่ดินไม่อาจจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่บุคคลใดหรือทำให้เสื่อมเสียแก่ทรัพย์จำนองนั้นไม่ได้ หากผู้รับจำนองไม่ยินยอม

กรณีเจ้าของที่ดินได้จดทะเบียนจำนองแก่ผู้รับจำนอง เจ้าของที่ดินไม่อาจจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่บุคคลใดหรือทำให้เสื่อมเสียแก่ทรัพย์จำนองนั้นไม่ได้ หากผู้รับจำนองไม่ยินยอม

        เป็นกรณีตัวอย่างว่า หากผู้ใดได้รับจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้แล้ว เจ้าของที่ดินแอบนำที่ดินซึ่งได้จำนองนั้นไปทำให้เสื่อมเสียประโยชน์แก่การที่ผู้รับจำนองจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินนั้นได้อย่างเต็มที่ตามสิทธิของตนโดยไม่ยินยอม เช่น นำดินในที่ดินซึ่งได้จำนองไปขาย ไปจดทะเบียนภาระจำยอมต่อที่ดินแปลงข้างเคียง เป็นต้น ผู้รับจำนองย่อมคัดค้านเพิกถอนหรือฟ้องร้องให้ชำระค่าเสียหายได้หากที่ดินไม่กลับคืนสภาพเดิม และการนั้นได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนจำนอง ย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองเสียหายสามารถลบสิทธิหรือเยียวยาหากได้เกิดขึ้นได้

        อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ จำเลยที่ 1 นำที่ดินโฉนดเลขที่ 12844 ไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 ภายหลังจำเลยที่ 1 ตกลงยินยอมจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอม ซึ่งการจะจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวได้ต้องไม่ทำให้เป็นที่เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองในเวลาบังคับจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 722 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดถึง 9 ครั้ง ไม่สามารถขายได้ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ หากมีการจดทะเบียนภาระจำยอมทำให้ราคาทรัพย์จำนองลดลงเป็นที่เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 ในเวลาบังคับจำนอง สิทธิจำนองของจำเลยที่ 2 ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอมของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องส่งมอบที่ดินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี สาขาหนองแค เพื่อทำการจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์.

        มาตรา 722  ถ้าทรัพย์สินได้จำนองแล้ว และภายหลังที่จดทะเบียนจำนองมีจดทะเบียนภาระจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่น โดยผู้รับจำนองมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าสิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจำนองในเวลาบังคับจำนองก็ให้ลบสิทธิที่กล่าวหลังนั้นเสียจากทะเบียน


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,476