เงินมัดจำนั้นแม้จะได้วางต่อกันในวันทำสัญญาแต่หากเจตนาของการวางเงินดังกล่าวไม่เข้าลักษณะของการวางมัดจำ ก็ไม่ถือเป็นมัดจำไม่อาจริบได้หากมีการผิดสัญญา

          คอนโดหลายๆ บริษัทได้มีการเก็บเงินหลายก้อน หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเงินจอง เงินทำสัญญา เงินมัดจำ หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ รวมถึงเงินดาว ตามหลักกฎหมายหากมีการผิดสัญญาจะซื้อจะขายต่อกันนั้น ฝ่ายที่เป็นผู้รับสัญญาต้องเสียหายมีสิทธิ์ริบเงินมัดจำได้ แต่เงินจำนวนไหนกันจะถือเป็นเงินมัดจำ ดังนั้นหากจะมองด้วยความเป็นธรรมต้องมองถึงเจตนาของการวางเงินจำนวนนั้นๆ ว่าประสงค์ให้ออกมาเป็นในรูปแบบใด เช่น เป็นเงินจอง 30,000 บาท และค่าทำสัญญา 20,000 ในวันเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายและให้ถือเงินค่าทำสัญญาเป็นเงินดาว เมื่อเจตนาได้เขียนไว้เช่นนี้ก็ย่อมเข้าใจได้ว่า เงินจองจำนวน 30,000 บาทนั้นเป็นเงินมัดจำสามารถริบได้เมื่อผู้จะซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อเงินดาวไม่ถือเป็นเงินมัดจำไม่สามารถริบไปได้แม้จะเขียนไว้ในสัญญาก็ตามเมื่อสัญญาเลิกกันคู่สัญญาต้องกลับสู่ฐานะเดิมและคืนเงินส่วนอื่นที่มิใช่มัดจำให้แก่ผู้จะซื้อ

          อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544 แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้

          สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,444