การวางแนวท่อระบายน้ำ หรือสายไฟผ่านที่ดินของผู้อื่นสามารถกระทำได้ หากได้เสนอค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่

คงเป็นการยากหากเราเป็นเจ้าของที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งที่อยู่ลึกหรือห่างไกลถนนหนทาง หากต้องการที่จะวางท่อน้ำประปา ท่อระบายน้ำ หรือติดตั้งเสาไฟฟ้าเพื่อนำสาธารณูปโภคเหล่านี้มายังที่ดินของตนเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต แต่รู้หรือไม่ว่า กฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ติดกันตั้งแต่สองแปลงขึ้นไปที่อยู่ด้านในมีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นที่คล้ายกันผ่านที่ดินของบุคคลอื่นได้ หากเป็นการยากหรือสิ้นเปลืองจนเกินไปที่จะทำการวางหรือก่อสร้างอ้อมหรือไม่ให้ผ่านที่ดินที่อยู่ด้านหน้า โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352  บัญญัติว่า ท่านว่าถ้าเจ้าของที่ดินได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว ต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของตน เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อ ซึ่งถ้าไม่ยอมให้ผ่านก็ไม่มีทางจะวางได้ หรือถ้าจะวางได้ก็เปลืองเงินมากเกินควร แต่เจ้าของที่ดินอาจให้ยกเอาประโยชน์ของตนขึ้นพิจารณาด้วย

แต่ทั้งนี้แม้กฎหมายจะให้สิทธิเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นที่ดินซึ่งอยู่ในแปลงหลังมีสิทธิที่จะวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันติดตั้งผ่านที่ดินของบุคคลอื่นได้ แต่กฎหมายกำหนดไว้ว่าเจ้าของที่ดินแปลงอื่นนั้นมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากวางหรือก่อสร้างดังกล่าว และเป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินที่จะวางหรือก่อสร้างต้องบอกกล่าวและเสนอค่าทดแทนให้กับเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นบุคคลอื่นนั้นด้วย โดยเรื่องนี้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาที่น่าสนใจ คือ

คำพิพากษาฎีกาที่ 3453/2560

          ป.พ.พ. มาตรา 1352 บัญญัติว่า “....ถ้าเจ้าของที่ดินได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้วต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่น ซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อ ซึ่งถ้าไม่ยอมให้ผ่านก็ไม่มีทางจะวางได้ หรือถ้าจะวางได้ก็เปลืองเงินมากเกินควร....” ตามบทบัญญัติดังกล่าว การใช้สิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันในที่ดินของผู้อื่น ผู้ที่จะวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกัน จะต้องยอมจ่ายค่าทดแทนตามสมควรให้แก่เจ้าของที่ดินเสียก่อน จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ที่จะวางสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายโทรศัพท์ หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกันที่จะต้องบอกกล่าวเสนอจำนวนค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินทราบก่อน มิฉะนั้นโจทก์ทั้งสองก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ทั้งสองดำเนินการดังกล่าวได้

          แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองเสนอให้ค่าทดแทนแก่จำเลยทั้งสองปีละ 3,000 บาท ตามหนังสือขอเสนอค่าทดแทนและจำเลยทั้งสองนำสืบโต้แย้งว่าน้อยเกินไป #ศาลย่อมมีอำนาจที่จะกำหนดให้ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนตามสมควรเพียงใด มิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,263