สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่กำหนดให้ไปโอนกรรมสิทธิ์ในอนาคต แม้ขณะทำสัญญาผู้จะขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิยังไม่สมบูรณ์ “สัญญาก็มีผลบังคับแล้ว”

กรณีดังกล่าว ต้องเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่จริงและกำลังจะเกิดสิทธิแก่ผู้จะขายในอนาคต การทำสัญญาจะซื้อจะขายนั้นแม้ในขณะดังกล่าวตนยังไม่มีกรรมสิทธิ์ก็ตามสัญญาย่อมสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย หกเมื่อครบกำหนดผู้จะขายหรือผู้จะซื้อกระทำผิดต่อสัญญาย่อมต้องรับชำระค่าเสียหายต่อกัน

ตัวอย่าง นาย ก ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์กับทางบริษัทการเงิน(ไฟแนนซ์) และมีสิทธิการครอบครองรถจักรยานยนต์ดังกล่าวตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมานาย ก ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่ นาย ข ว่านาย ข จะทำการผ่อนรถยนต์คันดังกล่าวแทนในระยะเวลาตามสัญญาเช่าซื้อที่นาย ก ได้มีแต่บริษัทการเงิน แม้ในขณะดังกล่าวชื่อผู้เช่าซื้อจะเป็นของนาย ก ก็ตามสัญญาจะซื้อจะขายก็สามารถตกลงทำกันได้ เพราะเมื่อนาย ก ชำระเงินให้แก่บริษัททางการเงินครบกรรมสิทธิ์ย่อมเป็นของนาย ก สามารถโอนต่อให้แก่นาย ข ได้ สัญญามีผลผูกพัน

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2533 โจทก์ซื้อทาวน์เฮาส์ พิพาทไว้เพื่อจะขายต่อเอากำไร และได้ชำระเงินค่าทาวน์เฮาส์ ให้แก่ผู้ขายครบถ้วนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกัน ดังนั้นการที่โจทก์ให้บริษัทผู้ขายโอนทาวน์เฮาส์ให้แก่บริษัท ย.โดยตรงโดยโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากอ. แม้มิได้ทำสัญญาซื้อขายก็มีความหมายเช่นเดียวกับการขายทาวน์เฮาส์ มิใช่เป็นการขายสิทธิในการซื้อทาวน์เฮาส์ ตามที่โจทก์อ้าง และถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา77,78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้เป็นหลักทั่วไปว่า ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ดังนั้นศาลย่อมมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายอยู่แล้ว แม้จำเลยจะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีหน้าที่ต้องสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย.


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU



แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,441