เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งได้ทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญาในทรัพย์สินนั้นให้เสื่อมประโยชน์ลงโดยที่เจ้าของร่วมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วย เจ้าของร่วมที่มิได้ยินยอมนั้นย่อมบอกเลิกสัญญาได้

ทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมนั้นมีหลายแบบไม่ว่าจะได้มาจาก มรดก มาจากการร่วมทุนกันซื้อ เมื่อได้นำทรัพย์สินนั้นออกทำประโยชน์และมีสัญญาต่อกัน และภายหลังได้มีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งได้ไปเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาเป็นอันทำให้เสื่อมประโยชน์ต่อเจ้าของร่วมคนอื่นๆ ย่อมไม่ผูกพันกับเจ้าของร่วมคนอื่นๆ ด้วย การดังกล่าวย่อมสามารถเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาต่อกันได้

ตัวอย่าง นาย ก นาย ข และ นาง พ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เมื่อได้รับที่ดินมรดกมาจากบิดาและมารดานั้น ทั้งสามยังมิได้แบ่งแยกตามส่วนแก่กันได้นำที่ดินนั้นออกให้บุคคลอื่นเช่า โดยคิดค่าตอบแทนเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต่อมาภายหลังเมื่อครบกำหนดตามสัญญา นาย ก ได้ไปติดต่อผู้เช่าคนดังกล่าวโดยเสนอให้เช่าเดือนละแปดพันบาท เป็นการคิดราคาที่ปล่อยให้เช่าเสื่อมประโยชน์แก่ นาย ข และ นาง พ ทั้งสองมิได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวลงได้

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9009/2552 ส. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่เช่าและการให้เช่าที่ดินเป็นการจัดการตามธรรมดาเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามสภาพปกติของทรัพย์สินซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอแต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง และ 1360 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่จำเลยเช่า โดยเสียค่าเช่าเพียงเดือนละ 2,500 บาท น้อยกว่าเดิมที่เคยเสียค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ย่อมทำให้เจ้าของรวมคนอื่นซึ่งได้มอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาเช่ากับจำเลยได้รับความเสียหาย ส. จึงไม่มีอำนาจที่จะทำสัญญาเช่ากับจำเลย สัญญาเช่าที่ดินจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยยังอยู่ในที่ดินที่เช่าจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่าได้

จำเลยไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้นำเงินมัดจำประกันค่าเสียหาย 9,000 บาท มาหักชำระค่าเช่าค้างชำระ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงกันว่า เงินมัดจำประกันค่าเสียหายจะคืนให้ต่อเมื่อหักค่าเสียหายแล้ว ส่วนที่เหลือจะคืนให้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า และค้างชำระค่าเช่าเป็นเงิน 4,500 บาท พร้อมกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องนำเงินมัดจำประกันค่าเสียหาย 9,000 บาท มาหักค่าเช่าค้างชำระและค่าเสียหายก่อนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นไม่นำเงินมัดจำประกันค่าเสียหายมาหักให้แก่จำเลยตามสัญญาย่อมทำให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิเป็นการไม่ชอบ และเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในเวลาพิพากษาคดี จึงเป็นพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้


ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

สาขาเชียงใหม่ โทร 080-3955536 แอดไลน์ @closelawyercmi หรือ คลิก https://lin.ee/Zu2JmNU


แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,572