การครอบครองปรปักษ์นั้นทำได้แต่ของบุคคลอื่นไม่อาจครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองได้

กรณีที่จะครอบครองปรปักษ์ได้นั้นต้องเป็นการครอบครองที่ดินอันมีโฉนดของบุคคลอื่น โดยสงบและเปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ แต่ไม่อาจครอบครองที่ดินของตนเองได้เช่น ที่ดินของบิดามารดา แม้จะอยู่มาเกิน 10 ปี ก็ไม่อาจได้การครอบครองโดยปรปักษ์

ซึ่งการครอบครองปรปักษ์นั้นจะทำได้ต่อเมื่อครอบครองในกรรมสิทธิ์ที่ดินประเภท นส.4 คือโฉนดที่ดินเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2525  เมื่อในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความไว้ และโจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านนั้นปัญหาที่ว่าคำให้การจำเลยในเรื่องอายุความได้แสดงเหตุผลไว้โดยชัดแจ้งหรือไม่จึงไม่มีประเด็นในชั้นศาลอุทธรณ์ ทั้งปัญหานี้ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบ คดียังคงมีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยต่อไปในเรื่องอายุความ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนคืนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา

การที่จำเลยต่อสู้คดีว่าที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยและจำเลยครอบครองแทนเกินกว่า 10 ปี จนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้วนั้น เห็นได้ว่าจำเลยหรือมารดาจำเลยย่อมจะครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเองไม่ได้ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขาดอายุความ

มาตรา 1382  บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,516