หากผู้กระทำความผิดถึงแก่ความตายคดีความอาญาที่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลย่อมระงับไปเพียงแต่คดีอาญาเท่านั้น ศาลแพ่งชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้

ในกรณีที่หากจำเลยหรือผู้กระทำความผิดถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาและได้มีการฟ้องร้องคดีส่วนแพ่งมาด้วยนั้น เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายจึงไม่อาจนำบุคคลใดมาลงโทษได้จึงต้องจำหน่ายคดีออกจากสาระบบเสีย แต่คดีแพ่งยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนกว่าจะเสร็จ

ตัวอย่าง นาย ก ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้นาย ข เจ้าของร้านลูกชิ้นที่ถูกเฉี่ยวชนได้รับบาดเจ็บสาหัส และนาย ก เองก็ได้เข้าโรงพยาบาลได้รับบาดเจ็บ และต่อมาถึงแก่ความตาย มีคำถามว่านาย ข จะเรียกร้องอะไรได้บ้าง

ดังนั้นเมื่อนาย ก เสียชีวิตภายหลังจากที่ได้กระทำความผิดอาญา คดีอาญาย่อมระงับไป แต่ทางแพ่งสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้จากกองมรดกของ นาย ก คดีแพ่งจึงยังไม่ระงับไปนาย ข ชอบที่จะเรียกร้องเอาได้

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13361/2558 คดีอาญา จำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ สำหรับคดีส่วนแพ่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 หากครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่จำเลยถึงแก่ความตาย ไม่มีบุคคลใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน หรือเข้ามาตามหมายเรียกของศาลก็ให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

มาตรา 39  สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้ (1) โดยความตายของผู้กระทำผิด

มาตรา 42  ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ ถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสาระบบความ

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,487