จับตัวไปเพื่อที่จะได้รับชำระหนี้ตามสิทธิ์ของตน ไม่ถือเป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่เนื่องจากไม่ได้มีเจตนาเรียกเอาเงินสินไถ่

กรณีที่จับบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปเพื่อบังคับให้บุคคลนั้นชำระหนี้ของตนเองตามกฎหมายไม่ถือเป็นการประทำความผิดอาญาฐานเรียกค่าไถ่ การเรียกค่าไถ่นั้นต้องมีเจตนาที่ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดของผู้ถูกจับตัวไป แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจับตัวไปเพื่อเรียกให้ชำระหนี้ของตนเองตามที่มีอยู่ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานเรียกค่าไถ่

ตัวอย่าง นาย ก ได้ไปกู้ยืมเงินนาย ข ต่อมานาย ก ไม่เคยชำระหนี้ใดๆ แก่นาย ข เลย นายกไม่รู้จะติดตามทวงถามอย่างไรจึงพาพวกไปจับตัวนาย ก เพื่อบังคับให้ภรรยาของนาย ก โอนเงินคืนให้แก่ ข เจ้าหนี้

ดังนั้นการกระทำของนาย ข ไม่ถือเป็นการกระทำความผิดฐานเรียกค่าไถ่แต่มีความผิดอาญาฐานอื่นเช่น กักขังหน่วงเหนี่ยว ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ เป็นต้น

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2534 จำเลยจับโจทก์ร่วมไปหน่วงเหนี่ยวกักขังแล้วบังคับให้เขียนจดหมายถึง พ. มารดาของโจทก์ร่วมให้โอนที่ดินที่จำนองเพื่อชำระหนี้แก่ ข. แม่ยายของจำเลยหรือจำเลยนั้น จำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อบังคับให้มารดาโจทก์ร่วมชำระหนี้แก่แม่ยายจำเลยหรือจำเลยโดยจำเลยซึ่งเป็นบุตรเขยเชื่อว่ากระทำได้ ดังนั้น ประโยชน์ที่จำเลยเรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(13)การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 313

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer


แบบฟอร์มติดต่อกลับ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 630,499